MASJiDTHAi.COM

หน้าหลัก มัสยิดและสัปปุรุษ กระบี่ชุมพรตรังนครศรีธรรมราชนราธิวาสประจวบคีรีขันธ์ปัตตานีพังงาพัทลุงภูเก็ตยะลาระนองสตูลสุราษฎร์ธานีเชียงใหม่ระยอง
กอจ. ประจวบคีรีขันธ์ มัสยิดและสัปปุรุษ

มัสยิดดารุลมุฮายีรีน ทะเบียนเลขที่: 001

หมู่ที่: 4 แขวง/ตำบล: ไร่เก่า เขต/อำเภอ: สามร้อยยอด จังหวัด: ประจวบคีรีขันธ์
ประวัติความเป็นมาฯ
ประวัติของมัสยิดดารุ้ลมูฮายีรีน (สามร้อยยอด) มัสยิดดารุ้ลมูฮายีรีน   ตั้งอยู่  ณ  บ้านเลขที่  1  หมู่ที่   4   ตำบลไร่เก่า   อำเภอสามร้อยยอด    จังหวัดประจวบคีรีขันธ์     ในพื้นที่  5  ไร่ ซึ่งนับได้ว่า   มัสยิดดารุ้ลมูฮายีรีน   นั้นเป็นมัสยิดหลังแรก    ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์     ที่ได้รับการจดทะเบียนในตอนนั้นซึ่งสัปบุรุษในมัสยิดนั้นแต่เดิมที่ไม่ใช่คนพื้นเมืองของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  แต่เป็นคนต่างพื้นที่อพยพจากจังหวัดเพชรบุรี  (ท่าแร้งและบ้านใหม่)  ที่ได้ย้ายถิ่นฐานเพื่อทำมาหากินในที่บริเวณแห่งนี้ เมื่อได้ย้ายเข้ามาอยู่แล้วพวกเขาจึงมีแนวคิดที่จะสร้างสถานที่ละหมาดเพื่อทำการกราบไหว้พระผู้เป็นเจ้า (อัลลอฮ์ ซ.บ.) ซึ่งมีผู้อพยพ มาอยู่ในรุ่นนั้นมีทั้งหมด 5  ครอบครัว โดยมีการนำของฮัจยีฮีม  นายและห์  ซึ่งมีที่ดินอยู่จึงได้ทำการแบ่งที่ดินของตนทั้งสอง  คนละ 2 ไร่ครึ่ง จึงเป็นที่ 5 ไร่ เพื่อที่จะสร้างสถานที่ละหมาด  หลังจากนั้น  ได้เริ่มในการสร้างให้เป็นบาแลขึ้นมาหลังหนึ่ง  ซึ่งมีลักษณะปลูกเป็นไม้ชั้นเดียว   หลังคามุงจากได้สร้างขึ้นในปี  พ.ศ. 2497  หลังจากนั้นได้มีผู้อพยพมาอยู่ที่นี้    คือนาย  กอเดร (คลอง 15) ซึ่งในขณะนั้นบาแลยังไม่มีอิหม่าม นายฮัจยีฮีม   และนายและห์   จึงได้ทำการแต่งตั้ง นาย กอเดร  ให้ดำรงตำแหน่งอิหม่าม บาแลในตอนนั้นใช้ทำการปฏิบัติศาสนกิจได้เพียงแค่ 2 ปีก็ได้ เกิดเหตุการณ์ไฟป่าลุกไหม้บาแล จึงสร้างความเสียหายจนทำให้ไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจตามเวลาได้  ประกอบกับได้มีผู้อพยพมาจากเพชร  อีกหลายครอบครัว   จึงทำให้สถานที่ไม่เพียงพอที่จะละหมาด   พวกเขาจึงมีแนวคิดที่จะสร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้น  ประกอบกับผู้ที่ตั้งบาแลหลังแรก คือ นาย ฮัจยีฮีม  กับ  นายและห์ ได้เสียชีวิตไปแล้วและอิหม่ามกอเดร  ได้แยกตัวออกไปสร้างมัสยิดหลังใหม่  หลังจากนั้น   นายหมัด   เพชรวงษ์ และบรรดาผู้ที่อพยพมาจากเพชรบุรี  และคนที่อยู่ก่อนนั้นจึงได้ช่วยกันสร้างมัสยิดหลังที่สองขึ้นมาใหม่  โดยมีลักษณะของมัสยิดปลูกเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวซึ่งไม่ใหญ่โตมากนัก แต่ต้องใช้ทุนในการสร้างพอสมควร  ประกอบสัปบุรุษสมัยนั้นฐานะค่อนข้างยากจน  จึงทำให้การสร้างเป็นไปด้วยความยากลำบาก   แต่โชคดีที่ได้รับการช่วยเหลือจากอาจารย์  สวาสดิ์    ศุมาลศักดิ์    และท่านอับดุล  ได้ทำเรื่องสนับสนุน   และหารายได้เข้ามัสยิดจนกระทั่งสามารถสร้างมัสยิดได้จนเสร็จสมบูรณ์สามารถเข้าทำการปฏิบัติศาสนาในมัสยิดได้ประมาณ  100 คน   หลัง จากนั้นสัปบุรุษจึงได้ทำการแต่งตั้ง นายหมัด  เพชรวงษ์เป็นอิหม่าม นายซูโกร  หวั่งพึ่งฉาย เป็นคอเต็บ และนายลิด  หวังคลี่ เป็นบิหลั่น ซึ่งมัสยิดหลังที่สองได้สร้างอยู่บนบาแลหลังแรกสร้างไม่ถึงปีก็เสร็จ บริบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2500 สามารถใช้ปฏิบัติศาสนกิจได้ตามปรกติ มัสยิดหลังที่สองนี้อยู่ได้ประมาณ 23 ปี ประกอบกับผู้อพยพมาจากเพชรบุรีอยู่เรื่อย ๆ  และมีประชากรเพิ่มขึ้นจนทำให้สถานที่ละหมาดไม่เพียงพอต่อบุคคลที่จะมาละหมาด และพื้นที่ตรงนั้นเป็นที่ลุ่มดอน (ต่ำ) จนบางที่ทำให้น้ำท่วมขังได้ง่าย ในปี   พ.ศ. 2524   สัปบุรุษจึงมีแนวคิดที่จะสร้างมัสยิดหลังใหม่    พร้อมกับขยับขยายมัสยิดหลังเดิม ขึ้นมาให้พ้นจากที่ลุ่มดอน (ต่ำ) และจึงได้เอาไม้เก่า ๆ มาทำบาแลที่ใช้สอนหนังสือ แต่ตอนนั้นผู้ที่สร้างมัสยิดหลังที่สอง คือนายหมัด  เพชรวงษ์ (ฮัจยีมุตตอฟา) นายซูโกร  นุ่มสุข  นายยูซุบ  กีเย็ง นายมันนาน  หลำบำรุง  ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ จึงได้รวมตัวกันทำการวางแผนในรูปแบบของมัสยิดจนกระทั่งได้เริ่มทำการสร้างมัสยิดหลังปัจจุบัน โดยใช้แรงงานสัปบุรุษโดยไม่มีการว่าจ้างใด ๆ บรรดาผู้ที่ริเริ่มสร้างมัสยิด  ได้ทำการบริจาคสมทบทุนในการสร้างมัสยิด  ไปยังสถานที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งเดินทางไปด้วยตนเอง ในสถานที่ต่าง ๆ  เพื่อขอเงินบริจาค จึงทำให้เงินบริจาคมีมาตลอด  ประกอบกับการสร้างนั้นไม่เสียค่าแรงใด  ๆ  จึงทำให้มัสยิด เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2526 ออกในรูปลักษณะของมัสยิดนั้นเป็นอาคารตึกชั้นเดียว มีโดมอยู่ด้านหน้า  1  ลูก   มีอาคาร ยาวเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า   และมีห้องสำหรับสตรี(มุสลิมะห์ หญิง) อีก 2 ห้องมีความกว้างของอาคาร ประมาณ 10 เมตร มีความยาวประมาณ 15 เมตร ใช้เวลาในการสร้างประมาณ  3  ปีเศษ  ซึ่งปัจจุบันนี้  ผู้ที่ดำรงตำแหน่งอิหม่าม   นายเจริญ    นุ่มสุข  (ฮัจยีมุสตอฟา) คอเต็บ คือ  นายสำราง   หลำบำรุง  บิล้าล คือ  นายสุชาติ   นุ่มสุข  มัสยิดหลังปัจจุบันนี้  ตั้งอยู่ในพื้นที่  5   ไร่ ล้อมรอบไปด้วยกุโบร์อยู่ทิศตะวันออก  และสระน้ำอยู่ทางทิศใต้ และสวนปาล์มอยู่ทิศเหนือ อีกทั้งมีโรงเรียนสอนศาสนา  (ฟัรดูอีน)   ในปัจจุบันนี้ประชากร  (สัปบุรุษ)   ของมัสยิดนี้ทั้งหมด  338  คน  มี   72  ครัวเรือน เป็นชาย  136 คน   เป็นหญิง  157  คน   มัสยิดดารุ้ลมุฮายีรีน   ตั้งอยู่เลขที่  1  ม.4  ต. ไร่เก่า   อ. สามร้อยยอด จ. ประจวบคีรีขันธ์ more

กรรมการมัสยิด

นายเจริญ นุ่มสุข

อิหม่าม

นายสำรอง หลำบำรุง

คอเต็บ

นายสุชาติ นุ่มสุข

บิหลั่น

ไม่มีข้อมูล
เลขานุการ
ไม่มีข้อมูล
นายทะเบียน
ไม่มีข้อมูล
เหรัญญิก
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายการศึกษา
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายวิชาการ
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายฮาลาล
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายซะกาติและสังคมสงเคราะห์
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายอาคารสถานที่
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายประสานงาน
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายสตรีและเยาวชน

สัปปุรุษ

ข้อมูลสัปปุรุษ ครอบครัว ชาย หญิง รวม
สัปปุรุษ ณ ปัจจุบัน 0 0 0 0
สัปปุรุษในเขต 0 0 0 0
สัปปุรุษนอกเขต 0 0 0 0
สัปปุรุษเข้ารับอิสลาม 0 0 0 0
สัปปุรุษย้ายเเข้าจากมัสยิดอื่น 0 0 0 0
สัปปุรุษเสียชีวิต 0 0 0 0
สัปปุรุษย้ายออกไปมัสยิดอื่น 0 0 0 0
สัปปุรุษจำหน่ายออกจากระบบ 0 0 0 0
มัสยิดดารุลมุฮายีรีน
ที่ตั้งเลขที่: หมู่ที่: 4 ถนน/ตรอก/ซอย: ตำบล/แขวง: ไร่เก่า
อำเภอ/เขต: สามร้อยยอด จังหวัด: ประจวบคีรีขันธ์ รหัสไปรษณีย์: 77180 เบอร์โทรศัพท์:
จำนวนผู้เข้าชม: 7,410