MASJiDTHAi.COM

หน้าหลัก มัสยิดและสัปปุรุษ กระบี่ชุมพรตรังนครศรีธรรมราชนราธิวาสประจวบคีรีขันธ์ปัตตานีพังงาพัทลุงภูเก็ตยะลาระนองสงขลาสตูลสุราษฎร์ธานี
กอจ. ระนอง มัสยิดและสัปปุรุษ

มัสยิดซีลาฮุดดีน ทะเบียนเลขที่: 013

หมู่ที่: 1 แขวง/ตำบล: บางหิน เขต/อำเภอ: กะเปอร์ จังหวัด: ระนอง 0899919694
ประวัติความเป็นมาฯ
ในช่วงประมาณปี  พุทธศักราช  2486  มีครอบครัวของนายเหร็ด  เล่สำ  เป็นชาวมุสลิมได้ได้เดินทางมาจากตำบลนาคา (อำเภอสุขสำราญปัจจุบัน)  อพยพเข้ามาอยู่อาศัย บริเวณหาดทนายความฝั่งตะวันตกของหมู่บ้าน  โดยอาศัยมาทางเรือแจวเป็นครอบครัวแรก  หลังจากนั้นมาได้มีครอบครัวอื่นเข้ามาอาศัยตามลำดับ  เช่น  ตระกูลโต๊ะพ่อ  ตระกูลทรงเลิศ  ต่อมาในปีพุทธศักราช  2488  ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน  “ชาคลี”  เป็นชื่อหมู่บ้านตามตำนานเล่าขานกันมา  และมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ  นายไข่  โต๊ะพ่อ  หลังจากนั้นในปีพุทธศักราช  2525  นายสมาน  ดีเอง  ซึ่งเป็นบุตรของนายไข่  โต๊ะพ่อ  ก็ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านแทนจนถึงปัจจุบัน ในปีพุทธศักราช  2507  ได้มีชุมชนมุสลิมประมาณ  14-15  ครัวเรือน  ได้รวมตัวกันสร้างสุเหร่า(บาลาย)  หลังแรกขึ้นมาเพื่อดำรงไว้ซึ่งศาสนา  โดยใช้ไม้ทั้งหลังมุงด้วยจาก (วัตถุดิบจากทะเล)  หลังคา  5  เสา  ไม้แสม  ไม้ตะแบก  พื้นปูด้วยไม้ไผ่  ฝากั้นด้วยไม้ไผ่  บันได  3  ขั้น  กว้าง  10  เมตร  ยาว  12  เมตร  เสาไม้แสมและไม้ตะแบก  ต้องใช้ช้างลากมาทำเป็นเสาสุเหร่าหรือบาลาย  ใช้น้ำอุปโภคบริโภคข้างริมนาซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว  เมื่อสุเหร่าหรือบาลายสร้างเสร็จสมบูรณ์ได้แต่งตั้ง    นายเสะ  ทรงเลิศ  (อับดุลรอเชด)  เป็นอิหม่ามคนแรกหรือผู้นำศาสนาประจำหมู่บ้านหรือชุมชน   จากสุเหร่า (บาลาย)  หลังแรกได้มีแนวคิดใหม่ๆ  ของผู้นำท้องที่และผู้นำศาสนาในยุคนั้น  ได้เปลี่ยนจากเรือนไม้ทั้งหลัง  มาเป็นสุเหร่า(บาลาย)ที่มีโครงสร้างเป็น  มุงด้วยสังกะสี  เสาไม้เหลี่ยม  กั้นด้วยอิฐครึ่งหนึ่งและต่อด้วยไม้กระดานครึ่งหนึ่ง  พื้นปูน  ประตูไม้  กว้าง  9  เมตร  ยาว  12  เมตร (ได้รับบริจาคบางส่วน)   ปีพุทธศักราช  2520  นายเสะ  ทรงเลิศ (อับดุลรอเชด) ได้ลาออกจากตำแหน่งอิหม่าม    และได้แต่งตั้ง  นายปิอี  โต๊ะพ่อ  เป็นอิหม่ามแทน  เมื่อวันที่  24 สิงหาคม  2520  โดยมีนายเล่ง การะ            เป็นฆอเตบ  นายหลี  ทรงเลิศ  เป็นบิหลั่น  อย่างเป็นทางการ  พร้อมกับจดทะเบียนแบบ  ม.อ 2    ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม  พ.ศ. 2490  (มาตรา 3)  เป็นชื่อ  “ซีลาฮุดดีน” (แปลว่า ดำรงไว้ซึ่งศาสนาและสถานที่เรียนรู้) ต่อมาได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 (มาตรา 3)  และได้ใช้พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 (มาตรา  12)  แทน             แต่ขณะเดียวกันนั้น   ได้มีไฟฟ้าแรงสูงหรือลิกไนท์พาดผ่านมาทางมัสยิดพอดี   จึงจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายมัสยิดเดิมออกจากพื้นที่โดยปริยาย  ซึ่งสร้างความลำบากกายและใจให้กับผู้นำศาสนาและผู้นำท้องที่เป็นอย่างมาก  แต่ได้มีแนวคิดว่าการอยู่รวมกันนั้นถ้ามีความสามัคคีอะไรก็ย่อมทำได้  จึงได้เกณฑ์คนจากหลายๆ  ฝ่าย  ทั้งที่เป็นพี่น้องศาสนาพุทธ  และเจ้าหน้าที่รัฐร่วมกันเคลื่อนย้ายมัสยิด (แบกหาม) ไปไว้ที่ริมคลองชาคลีหรือข้างสะพานชาคลี  และได้ต่อเติมบูรณะใหม่จนเสร็จ  ขณะนั้นอิหม่ามได้ลาออกไปรับตำแหน่งเป็นนักการฯ  จึงได้แต่งตั้งนายดำริห์  ภักดี   เป็นอิหม่าม   คนต่อมา  ขณะเดียวกันนั้นก็ได้สร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้นมาอีกหลังโดยใช้ปูน  คอนกรีต  (หลังปัจจุบัน) ซึ่งในส่วนของมัสยิดก็ได้มีงบประมาณจากส่วนต่างๆ  เข้ามา  อีกทั้งได้รับการบริจาคจาก  พี่น้องในท้องถิ่น  ต่างท้องถิ่น  และส่วนราชการ  ร่วมสมทบเข้ามาเป็นจำนวนหนึ่ง  จึงได้เริ่มก่อสร้างมัสยิดหลังใหม่  ขณะที่มัสยิดก่อสร้างได้ประมาณ  40%  นายดำริห์  ภักดี  ได้ลาออกจากอิหม่ามประจำมัสยิด  จึงได้มีการคัดเลือกคนใหม่แทนคือ  นายบ่าว  ขุนระนัง  เป็นอิหม่าม  แต่ด้วยความชราภาพของผู้นำศาสนา  นายบ่าว  ขุนระนัง  จึงได้ลาออกจากตำแหน่งอิหม่ามเมื่อ   ปีพุทธศักราช  2543  และนายมูหำหมาด  หยั้งกูล  ก็ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งอิหม่ามแทน  แต่ในส่วนตัวอาคารมัสยิดก็ได้ก่อสร้างเพิ่มเติมมาโดยตลอด ในปีพุทธศักราช  2546  นายมูหำหมาด  หยั้งกูล  ได้ลาออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลต้องย้ายที่อยู่อาศัยออกนอกพื้นที่  นายก็หนี  สำนัก  ก็รับตำแหน่งอิหม่ามประจำมัสยิดซีลฮุดดีน      ต่อมาได้ลาออกจากจากตำแหน่งด้วยเหตุผลเจ็บป่วย ไม่สบาย ต่อมา นาย มะเส็ม อาหลี เข้ารุับ พ.ศ 2662 มาจนถึงปัจจุบัน  โดยมีคณะกรรมการร่วมกันบริหารเพื่อให้องค์กรอิสลามได้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเรื่อยมา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าอนาคตลูกหลานต้องก้าวหน้าไปด้วยความอดทน  อดกลั้น  ด้วยจิตใจ    ที่มั่นคงมีทั้งศาสตร์และศิลป์  ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารต่อไป more

กรรมการมัสยิด

มะเส็ม อ้าหลี

อิหม่าม

เจษฎา พันชั่ง

คอเต็บ

ไชยา สำนัก

บิหลั่น

ไม่มีข้อมูล
เลขานุการ คณะกรรมการ
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ ฝ่ายการศึกษา
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ ฝ่ายกิจการฮาลาล
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ ฝ่ายวิชาการ
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ ฝ่ายสังคมสงเคราะห์
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ ฝ่ายการเงิน
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์
มนัส โต้ะพ่อ
กรรมการ ฝ่ายทะเบียน
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ ฝ่ายอาคาร/พัสดุ
ไม่มีข้อมูล
เจ้าหน้าที่ ฝ่ายธุรการ
ไม่มีข้อมูล
กรรมการ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
ไม่มีข้อมูล
ประสานงานทั่วไป
ไม่มีข้อมูล
ประธานอนุกรรมการ
ไม่มีข้อมูล
รองประธานอนุกรรมการ 1
ไม่มีข้อมูล
รองประธานอนุกรรมการ 2
ไม่มีข้อมูล
อนุกรรมการเลขานุการ
ไม่มีข้อมูล
อนุกรรมการการเงิน
ไม่มีข้อมูล
อนุกรรมการฝ่ายการศึกษา
ไม่มีข้อมูล
อนุกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล
ไม่มีข้อมูล
อนุกรรมการฝ่ายวิชาการ
ไม่มีข้อมูล
อนุ ฝ่ายซะกาต สังคมสงเคราะห์
ไม่มีข้อมูล
อนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์
ไม่มีข้อมูล
อนุกรรมการฝ่ายทะเบียน
ไม่มีข้อมูล
อนุกรรมการฝ่ายอาคารสถานที่
ไม่มีข้อมูล
อนุกรรมการฝ่ายประสานงาน
ไม่มีข้อมูล
อนุกรรมการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
ไม่มีข้อมูล
อนุกรรมการฝ่ายสตรีและเยาวชน

สัปปุรุษ

ข้อมูลสัปปุรุษ ครอบครัว ชาย หญิง รวม
สัปปุรุษ ณ ปัจจุบัน 6 14 16 30
สัปปุรุษในเขต 6 14 16 30
สัปปุรุษนอกเขต 0 0 0 0
สัปปุรุษเข้ารับอิสลาม 2 2 0 2
สัปปุรุษย้ายเเข้าจากมัสยิดอื่น 0 0 0 0
สัปปุรุษเสียชีวิต 0 0 0 0
สัปปุรุษย้ายออกไปมัสยิดอื่น 0 0 0 0
สัปปุรุษจำหน่ายออกจากระบบ 0 0 0 0
มัสยิดซีลาฮุดดีน
ที่ตั้งเลขที่: 433 หมู่ที่: 1 ถนน/ตรอก/ซอย: เพชรเกษม ตำบล/แขวง: บางหิน
อำเภอ/เขต: กะเปอร์ จังหวัด: ระนอง รหัสไปรษณีย์: 85120 เบอร์โทรศัพท์: 0899919694
จำนวนผู้เข้าชม: 6,551