MASJiDTHAi.COM

หน้าหลัก มัสยิดและสัปปุรุษ กระบี่ชุมพรตรังนครศรีธรรมราชนราธิวาสประจวบคีรีขันธ์ปัตตานีพังงาพัทลุงภูเก็ตยะลาระนองสตูลสุราษฎร์ธานีเชียงใหม่ระยอง
กอจ. ประจวบคีรีขันธ์ มัสยิดและสัปปุรุษ

มัสยิดดารุ้ลมุตตากีน ทะเบียนเลขที่: 008

หมู่ที่: 5 แขวง/ตำบล: ปากแพรก เขต/อำเภอ: บางสะพานน้อย จังหวัด: ประจวบคีรีขันธ์
ประวัติความเป็นมาฯ
มัสยิดดารุ้ลมุตตากีน (บางสะพานน้อย) : เลขที่ 8 หมู่ 5 ต.แพรกษา อ.บางสะพานนน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ จากคำบอกเล่า จากบรรดาผู้สูงอายุหลายท่าน หลาย ๆ ที่ไม่ว่าจะอยู่ใน ม.5 ต.ปากแพรก   อ. บางสะพานน้อย จ. ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของมัสยิดหรือตำบลใกล้เคียง เช่น หมู่ที่ 9 ที่หมู่บ้านต้นทองหลาง หรือหมู่บ้านสวนหลวง ตำบลพงศ์ประศาสน์ อ.บางสะพานใหญ่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไม่ว่าเขาจะนับถือศาสนาใดก็ตาม ทุกท่านจะบอกเหมือนกันคือ มัสยิดบางสะพานน้อย เป็นมัสยิดแห่งแรก (หลังแรก) ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มัสยิดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งผู้ที่สร้างมัสยิดบางสะพานน้อย (หลังแรก) นั้นนำโดย โต๊ะกู และพี่น้องมุสลิมในหมู่บ้านซึ่งขณะนั้นมีไม่กี่ครอบครัว โดยไปตัดไม้จากในป่ามาสร้างโดยเอาช้างลากมา ในขณะนั้นพื้นที่ อ.บางสะพานใหญ่ อ.บางสะพานน้อยเต็มไปด้วยป่าไม้นานาชนิด สำหรับมัสยิด บางสะพานน้อย ซึ่งนำโดยโต๊ะกูเป็นผู้สร้างนั้น ใช้เวลาสร้างนานเท่าไรไม่มีใครรู้ รู้เพียงแค่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังเท่านั้น โดยสร้างแบบเรือนสมัยโบราณ หรือแบบบาแลชั้นเดียว ยกพื้นสูง ปล่อยโล่งไม่มีห้อง ไม่มีฝากั้น มีเพียงไม้สักกันสูง จากพื้นมัสยิดขึ้นมาโดยรอบประมาณ 1 ศอก  เพื่อกันตกลงมาเท่านั้น ทางด้านกิบลัต (ตะวันตก) มีการต่อเป็นมุขออกมาจากตัวมัสยิดเล็กน้อย เพื่อใช้เป็นที่สำหรับอีหม่ามนำละหมาด และเป็นที่สำหรับอ่านคุตบะฮ์ และด้านข้างมัสยิด ทางด้านข้างมัสยิด ทางด้านทิศใต้ได้ต่อเป็นระเบียงออกไป เพื่อเป็นที่สำหรับ ทำอาหารในวันสำคัญของศาสนาการเข้าไม้หรือการติดตั้งจำพวก เส – จัณฑัณ – อกไก่ –ขื่อ –แปร – ลอด และอื่น ๆ นั้น เขาใช้ไม้ทำลูกสลักแทนตะปู หรือใช้ไม้สลักกันเองในตัว ดังนั้นมัสยิดหลังนี้ทั้งหลังจึงไม่ได้ใช้ตะปูตอกเลย ยกเว้นหลังคา ส่วนหลังคาใช้มุงด้วยสังกะสีทั้งหมด ส่วนมัสยิดนั้นสร้างอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 1ไร่ เป็นที่ดินที่พี่น้องมุสลิมในสมัยนั้นมอบให้ อยู่ติดกับคลองบางสะพานน้อย อีหม่ามคนแรกก็คือ โต๊ะกู ซึ่งประวัติของโต๊ะกูนั้นไม่มีผู้ใดรู้แน่ชัดว่าท่านนั้นมาจากที่ใด บางคนว่าท่านมาจากทางอยุธยา บางคนว่าท่านมาจากทางปัตตานี – กลันตัน ดังนั้นจึงไม่ทราบที่มาของท่านที่แน่นอน โต๊ะกูนั้นเป็นต้นตระกูลโชงโลงเลยทีเดียว และท่านเป็นบุคคลที่ค่อนข้างจะมีความรู้ทางด้านศาสนาพอสมควรจึงได้ถูกเลือกให้เป็นผู้นำ (อีหม่าม) ในสมัยนั้นเรื่อยมา จนท่านเสียชีวิต เมื่ออีหม่ามโต๊ะกูเสียชีวิตลง บุคคลต่อมาที่ดำรงตำแหน่งอีหม่ามคนที่ 2 ก็คือ โต๊ะเฮง (ถ้าผู้บอกเล่าจำไม่ผิด) ณ มัสยิดหลังเดิม เมื่อโต๊ะเฮงเสียชีวิต โต๊ะมาน หรือละมานิ มัตซา ก็ได้รับตำแหน่ง  อีหม่ามสืบต่อมา ซึ่งเป็นอีหม่ามคนที่ 3 ของมัสยิดบางสะพานน้อยหลังเดิมและเมื่อท่านโต๊ะมานหรือลานเสียชีวิตลง ฮัจยีสุไลมาน เลาะห์ชำซู ก็ได้ถูกเลือกให้มารับหน้าที่ อีหม่ามคนที่ 4 แทน โต๊ะมานหรือละมานที่เสียไป และช่วงระยะเวลาที่ฮัจยีสุไลมาน ดำรงตำแหน่งอีหม่ามนี้เองที่มีการเปลี่ยนแปลง ได้เปลี่ยนสถานที่ตั้งมัสยิดใหม่โดยมาตั้งอยู่บนที่ดินของโต๊ะใหม่ ซึ่งท่านโต๊ะใหม่วา-กาฟ(ยก)ให้มัสยิดจำนวน 2 ไร่ โดยรื้อถอนมัสยิดหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรมมากแล้วในขณะนั้นมาปลูกและสร้างแบบครึ่งไม้ครึ่งปูน หลังไม่ใหญ่มาก เริ่มสร้าง พ.ศ. 2505 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2513 โดยใช้วัสดุหลังเก่ามาใช้เสียเป็นส่วนมาก เช่น เสา เครื่องบน สังกะสี และอื่น  ส่วนของที่เหลือ เช่น เครื่องบนบางส่วน เสาบางส่วน พื้นทั้งหมด สังกะสีนั้นก็ได้เอามาสร้างที่ทำอาหารและจัดเลี้ยงอยู่ข้าง ๆ มัสยิด และท่านฮัจยีสุไลมาน  ก็ได้ทำหน้าที่อีหม่ามมาอีกระยะหนึ่ง แล้วท่านก็ได้ลาออกจากการเป็นอีหม่าม หลังจากท่านอีหม่าม ฮัจยีสุไลมานลาออกแล้วก็ได้มีการเลือกอีหม่ามขึ้นมาใหม่ โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือก(แต่งตั้ง) ให้ดำรงตำแหน่งอีหม่ามคนต่อมาคือนายประคอง วาอ่วม ท่านได้ดำรงตำแหน่งอีหม่าม ท่านที่ 5 ของมัสยิดดารุ้ลมุตตากีน บางสะพานน้อย แต่ท่านอยู่ในตำแหน่งได้ไม่นานเท่าไรท่านก็ขอลากออกด้วยเหตุผลส่วนตัว ดังนั้นสัปปุรุษทั้งหมดจึงรวมตัวกันแล้วเดินทางไปยังบ้านฮัจยีสุไลมาน  เลาะซำซู  เพื่อขอร้องท่านให้กลับมาเป็นอีหม่ามมัสยิดดารุ้ลมุตตากีนอย่างเดิม เพราะขณะนี้มัสยิดขาดอีหม่าม ไม่มีผู้นำ ท่านฮัจยีสุไลมานจึงได้กลับมาเป็นอีหม่ามมัสยิดดารุ้ลมุตตากีนอีกครั้งหนึ่งจนกระทั้งท่านได้เสียชีวิต ต่อมาคณะกรรมการก็ได้แต่งตั้ง นายมะแอ ศุภสมัย ขึ้นเป็นอีหม่ามมัสยิดดารุ้ลมุตตากีน ท่านที่ 6 ท่านทำหน้าที่อยู่นานหลายปี ครั้งที่อีหม่ามมะแอเป็นอีหม่ามนั้นก็ได้มีการปรึกษาหารือกับคณะกรรมการมัสยิดและสัปบุรุษว่าจะสร้างมัสยิดขึ้นมาใหม่ แทนหลังเดิมที่ใช้อยู่นั้น (สร้างครั้งที่ 2) ทุกคนเห็นด้วยจึงได้ก่อสร้างมัสยิดขึ้นมาใหม่ พ.ศ. 2546 (หลังปัจจุบัน) แทนมัสยิดหลังเดิมที่สร้างครั้งที่ 2 ซึ่งเกิดการชำรุดทรุดโทรม และมีขนาดเล็ก โดยมัสยิดที่สร้างครั้งที่ 2 นั้นก็นำมาใช้สอนอัลกุรอ่าน และฟัรดูอีน พึ่งมารื้อเมื่อ พ.ศ. 2551 โดยรื้อพร้อมกับบาแลสำหรับทำอาหารและจัดเลี้ยง  ครั้นเมื่ออีหม่ามมะแอเสียชีวิต ก็ได้มีการแต่งตั้งให้ นายลับ งามดี (อีหม่ามคนปัจจุบัน) เป็นอีหม่ามคนที่ 7 ของมัสยิดดารุ้ลมุตตากีน บางสะพานน้อย ดังนั้นจึงนับได้ว่ามัสยิดดารุ้ลมุตตากีน บางสะพานน้อย มีอายุเก่าแก่มากเลยทีเดียวก็ว่าได้ จากการบอกเล่า จากจำนวนคนที่ได้รับตำแหน่งอีหม่าม จากการยอมรับของคนเก่า ๆ ทุกคน ว่ามัสยิดดารุ้ลมุลตากีนนั้นเป็นมัสยิดหลังแรกของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เลยทีเดียว และถ้านับอายุก็คงไม่ต่ำกว่า 315 ปี แน่นอนหลักฐานที่บอกว่าไม่ต่ำกว่า 315 ปี ก็คือ สังกะสีที่หนามาก ไม้สัก ตะปู ของทั้งหมดนี้เป็นคนจากมัสยิด หลังที่ 1 และยังอยู่ทุกวันนี้ ส่วนกุโบร์ (สุสาน) ที่มัสยิดดารุ้ลมุตตากีนนี้มีกุโบร์(สุสาน) สองแห่งด้วยกัน คือ แห่งที่ 1 อยู่อีกฝั่งคลองตรงข้ามกับมัสยิดหลังปัจจุบัน ซึ่งเป็นกูโบร์ (สุสาน) เก่าแก่ตั้งแต่มัสยิดหลังที่ 1 เลยทีเดียว ปัจจุบันยังมีญาติ ๆ ของมายัต (ศพ ) ไปเยี่ยมกันอยู่บ้าง โดยเฉพาะวันตรุษอีดิ้ลฟิตรีและวันตรุษอีดิ้ลอัฏฮา  และกุโบร์หลังที่ 2 นั้นอยู่ติดกับมัสยิดหลังปัจจุบันนี้ more

กรรมการมัสยิด

นายวิไล เลาะซำซู

อิหม่าม

นายชูศักดิ์ ศรีเจียม

คอเต็บ

นายมนูรัตน์ ศรีเจียม

บิหลั่น

ไม่มีข้อมูล
เลขานุการ
ไม่มีข้อมูล
นายทะเบียน
ไม่มีข้อมูล
เหรัญญิก
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายการศึกษา
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายวิชาการ
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายฮาลาล
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายซะกาติและสังคมสงเคราะห์
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายอาคารสถานที่
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายประสานงาน
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายสตรีและเยาวชน

สัปปุรุษ

ข้อมูลสัปปุรุษ ครอบครัว ชาย หญิง รวม
สัปปุรุษ ณ ปัจจุบัน 0 0 0 0
สัปปุรุษในเขต 0 0 0 0
สัปปุรุษนอกเขต 0 0 0 0
สัปปุรุษเข้ารับอิสลาม 0 0 0 0
สัปปุรุษย้ายเเข้าจากมัสยิดอื่น 0 0 0 0
สัปปุรุษเสียชีวิต 0 0 0 0
สัปปุรุษย้ายออกไปมัสยิดอื่น 0 0 0 0
สัปปุรุษจำหน่ายออกจากระบบ 0 0 0 0
มัสยิดดารุ้ลมุตตากีน
ที่ตั้งเลขที่: หมู่ที่: 5 ถนน/ตรอก/ซอย: ตำบล/แขวง: ปากแพรก
อำเภอ/เขต: บางสะพานน้อย จังหวัด: ประจวบคีรีขันธ์ รหัสไปรษณีย์: 77170 เบอร์โทรศัพท์:
จำนวนผู้เข้าชม: 8,081