MASJiDTHAi.COM

หน้าหลัก มัสยิดและสัปปุรุษ กระบี่ชุมพรตรังนครศรีธรรมราชนราธิวาสประจวบคีรีขันธ์ปัตตานีพังงาพัทลุงภูเก็ตยะลาระนองสตูลสุราษฎร์ธานีเชียงใหม่ระยอง
กอจ. กระบี่ มัสยิดและสัปปุรุษ

มัสยิดบ้านคลองแห้ง ทะเบียนเลขที่: 007

หมู่ที่: 5 แขวง/ตำบล: อ่าวนาง เขต/อำเภอ: เมืองกระบี่ จังหวัด: กระบี่ 0892887700
ประวัติความเป็นมาฯ
                                                            ประวัติมัสยิดบ้านคลองแห้ง มัสยิดนี้เป็นสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์และสังคมตามหลักฐานที่ได้บันทึกปากคำของผู้สูงอายุหลายท่านเล่าต่ออย่างตรงกันว่า เมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองกระบี่ยังคงเป็นแขวงปกาสัย ในสมัยนั้นบ้านคลองแห้งเป็นเส้นทางเดินผ่านข้ามแหลมมลายู โดยมาจากจังหวัดตรังผ่านไปยังเมืองไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีคนเดินผ่านโดยใช้เส้นทางนี้เป็นจำนวนมาก เมื่อคนเหล่านั้นเห็นความอุดมสมบูรณ์ของสถานที่แห่งนี้ จึงได้หยุดพำนักทำมาหากินอยู่ โดยปราศจากความเป็นระเบียบเรียบร้อย เนื่องจากคนสมัยก่อนนั้นยังด้อยการศึกษาและวัฒนธรรม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2415 ซึ่งตรงกับสมัยรัชการที่ 5 แขวงปกาสัยเดิมก็ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองกระบี่ ในตอนนั้นมีผู้ทรงธรรมทางศาสนาท่านหนึ่ง เดินทางมาจากเกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย ชื่อฮัจยีมานอรด์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ทางศาสนาอิสลามมากคนหนึ่ง มาตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านคลองแห้งแห่งนี้ ท่านได้เผยแพร่ศาสนาและได้เรียกร้องให้ชาวบ้านบริจาคที่ดินเพื่อสร้างมัสยิด (สุเหร่า) ขึ้นหนึ่งหลัง ซึ่งนับว่าเป็นมัสยิดหลังแรกของบ้านคลองแห้ง หรือของจังหวัดกระบี่ก็ว่าได้ เพื่อเป็นศาสนสถานของชาวบ้านและคนทั่วไปได้เข้าร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และรับการอบรมตามหลักธรรมของศาสนาอิสลาม ทำให้ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาตั้งอยู่ในธรรมวินัยทางศาสนาและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ชาวบ้านจึงให้ชื่อมัสยิดแห่งนี้ว่า มัสยิดบ้านคลองแห้ง ตั้งแต่นั้นมา พ.ศ. 2443  ฮัจยีมานอรต์ชราลง ชาวบ้านจึงแต่งตั้งให้ นายฮัจยีดีน บุตรแขก ซึ่งเป็นศิษย์ของฮัจยีมานอรต์เป็นโต๊ะอีหม่าม ผู้นำมัสยิดสืบมา ฮัจยีดีนเป็นผู้มีศีลธรรมและมีความรู้ความสามารถทางด้านศาสนาเหนือกว่าคนทั้งหลาย จึงเป็นที่ศรัทธาเชื่อถือของคนทั่วไป หากมีการขัดข้องหรือมีข้อพิพาทกัน ไม่ว่าในทางสังคมหรือทางศีลธรรมชาวบ้านก็จะมาหาท่าน ท่านก็ได้ใช้มัสยิดแห่งนี้เป็นสถานที่อบรม และพิจารณาคดีชี้ขาดด้วยความเป็นธรรม ตามกฎบัญญัติศาสนาตลอดมา พ.ศ. 2445 สมัยพระอิศราธิชัย (หมี ณ ถลาง)   เป็นเจ้าเมืองกระบี่ ท่านเห็นความสำคัญของมัสยิดแห่งนี้   ซึ่งเป็นสถานที่อบรมนำความสงบสุขมาสู่ท้องถิ่นและประชาชน   อีกทั้งสามารถแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเป็นอย่างมาก   ท่านได้นำราษฎรในหมู่บ้านและตำบลอื่นๆ มาเยี่ยมดูเป็นตัวอย่างและบำเพ็ญประโยชน์ด้วยมือของท่านเอง   พร้อมกับชาวบ้านหลายหมู่บ้านร่วมกันพัฒนา โดยขยายบุกเบิกถากถางบริเวณมัสยิดให้กว้างขวางยิ่งขึ้น      นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างโรงเรียนสอนภาษาไทยในบริเวณมัสยิด   ซึ่งเป็นโรงเรียนหลังแรกของหมู่บ้านคลองแห้ง พร้อมด้วยท่านประกาศว่า มัสยิดบ้านคลองแห้งนี้ถือเป็นประวัติการณ์ของจังหวัดกระบี่ตลอดไป และยังมีข้อพิศดาลอีกประการหนึ่งของมัสยิดแห่งนี้ เช่น ถ้าหากใครไม่เคารพ ไปทำให้เกิดความสกปรกหรือลบหลู่ดูหมิ่นประการใดก็ดี มักจะมีการเจ็บป่วยขึ้นหรือเกิดเป็นอันตรายแก่ผู้นั้นเสมอๆ แม้แต่มัสยิดอื่นๆ สมัยต่อมาจนปัจจุบันก็เช่นกัน พ.ศ. 2478 ท่านฮัจยีดีน เห็นว่ามัสยิดคับแคบและชำรุดทรุดโทรมมาก จึงเชิญชวนชาวบ้านก่อสร้างมัสยิดกึ่งถาวรขึ้นใหม่ในที่หลังเก่า เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมและอบรมสืบเนื่องต่อไป พ.ศ. 2492 ฮัจยีดีนได้แก่ชราลงชาวบ้านจึงแต่งตั้งให้ฮัจยีสมัน เสกสรรค์ ขึ้นเป็นโต๊ะอีหม่ามแทน ฮัจยีสมันก็บริหารกิจการมัสยิดให้เจริญขึ้นตามลำดับ และจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2492 มีชื่อตามทะเบียนว่า “มัสยิดบ้านคลองแห้ง” ทะเบียนเลขที่ 7 หมู่ที่ 5 ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ เมื่อท่านชราลง ชาวบ้านจึงแต่งตั่งนายฮัจยีโดด บุตรแขก ให้ดำรงตำแหน่งโต๊ะอีหม่าม และเมื่อนายฮัจยีโดด บุตรแขก มีกิจธุระต้องไปต่างประเทศเพื่อบำเพ็ญฮัจย์ที่ประเทศซาอุดิอารเบีย จึงมอบหมายให้นายฮัจยีเส็น ศรีหมาด รักษาการแทน ท่านก็ได้บูรณะมัสยิดเป็นอย่างดี เมื่อนายฮัจยีโดด บุตรแขก กลับมาท่านก็รับหน้าที่เหมือนเดิมและบริหารกิจการมัสยิดเป็นอย่างดีจนกระทั่งท่านชราลง ชาวบ้านจึงแต่งตั้งให้นายดลเล๊าะ วะจิดี เป็นโต๊ะอีหม่ามแทน ท่านปฏิบัติบริหารกิจการของมัสยิดเป็นอย่างดี จนกระทั่งท่านได้ลาออกเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ชาวบ้านจึงแต่งตั้งนายสา (อีสา) บุตรแขก ให้ดำรงตำแหน่งโต๊ะอีหม่ามแทน และท่านบริหารกิจการมัสยิดด้วยดีตลอดมา เมื่อ พ.ศ. 2516 ทางคณะกรรมการมัสยิดพร้อมด้วยที่ปรึกษาและประชาชนรวม 3 หมู่บ้านซึ่งเป็นมุสลิมทั้งสิ้นได้ประชุมร่วมกัน โดยที่ประชุมมีมติให้ก่อสร้างมัสยิดถาวรขึ้นในที่บริเวณที่ดินของมัสยิดมีเนื้อที่กว้าง 20 เมตร ยาว 25 เมตร เนื่องจากมัสยิดหลังเก่าคับแคบ และชำรุดทรุดโทรมเป็นส่วนมาก เพื่อเจริญรอยตามบรรพบุรุษที่ได้สร้างให้เป็นเกียรติประวัติไว้อย่าให้เสื่อมสลายไป ที่มา : รวบรวมโดย ผู้ใหญ่หนัน  สะมาน 21 มีนาคม 2523 จัดพิมพ์โดย นายสุทิน  สมทัด 31 มกราคม 2564 more
แผนที่นำทาง Google Map

กรรมการมัสยิด

นายสมชาย วะจิดี

อิหม่าม

นายสนิท สะมาน

คอเต็บ

นายอิสมาแอน ช่างเรือ

บิหลั่น

ไม่มีข้อมูล
เลขานุการ
นายสมนึก เนื้ออ่อน
นายทะเบียน
นายมนัน สะมาน
เหรัญญิก
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายการศึกษา
นายสุทธิรักษ์ เบ็ญอ้าหมาด
ฝ่ายวิชาการ
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายฮาลาล
นายหมาด ดินแดง
ฝ่ายซะกาติและสังคมสงเคราะห์
นายสมปอง วะจิดี
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายอาคารสถานที่
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายประสานงาน
นายสุทิน สมทัด
ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
ไม่มีข้อมูล
ฝ่ายสตรีและเยาวชน
นางห้าเหรี้ย ดำดี
ประธานอนุกรรมการมุสลีมะห์
นางอลิษา ติรนนท์
รองประธานอนุกรรมการมุสลีมะห์ 1
นางธัญญาลักษณ์ สะมาน
รองประธานอนุกรรมการมุสลีมะห์ 2
นางจุรีภรณ์ สมทัด
อนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ
นางบุญพา ช่างเรือ
อนุกรรมการฝ่ายทะเบียน
นางอารีย์ เส้นปาน
อนุกรรมการฝ่ายเหรัญญิก
นางสำลี สะมาน
อนุกรรมการฝ่ายวิชาการ
นางเหรียม หลานสัน
อนุกรรมการฝ่ายการศึกษา
นางสุดารัตน์ บุคโล
อนุกรรมการฝ่ายฮาลาล
นางวรรณา บุตรแขก
อนุฯ ฝ่ายซากาติสังคมสงเคระห์
นางสุภา สกุลเล็ก
อนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์
นางทัศนีย์ ขยันการ
อนุกรรมการฝ่ายอาคารสถานที่
นางมาลินี ดำดี
อนุกรรมการฝ่ายประสานงาน
นางสุพัตรา สังยาหน่าย
อนุกรรมการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
นางปราณี วังพล
อนุกรรมการฝ่ายสตรีและเยาวชน

สัปปุรุษ

ข้อมูลสัปปุรุษ ครอบครัว ชาย หญิง รวม
สัปปุรุษ ณ ปัจจุบัน 403 822 793 1,615
สัปปุรุษในเขต 391 813 787 1,600
สัปปุรุษนอกเขต 12 9 6 15
สัปปุรุษเข้ารับอิสลาม 26 8 19 27
สัปปุรุษย้ายเเข้าจากมัสยิดอื่น 0 0 0 0
สัปปุรุษเสียชีวิต 31 20 16 36
สัปปุรุษย้ายออกไปมัสยิดอื่น 1 1 0 1
สัปปุรุษจำหน่ายออกจากระบบ 0 0 0 0
มัสยิดบ้านคลองแห้ง
ที่ตั้งเลขที่: หมู่ที่: 5 ถนน/ตรอก/ซอย: - ตำบล/แขวง: อ่าวนาง
อำเภอ/เขต: เมืองกระบี่ จังหวัด: กระบี่ รหัสไปรษณีย์: 81180 เบอร์โทรศัพท์: 0892887700
จำนวนผู้เข้าชม: 17,626