MASJiDTHAi.COM

หน้าหลัก มัสยิดและสัปปุรุษ กระบี่ชุมพรตรังนครศรีธรรมราชนราธิวาสประจวบคีรีขันธ์ปัตตานีพังงาพัทลุงภูเก็ตยะลาระนองสตูลสุราษฎร์ธานีเชียงใหม่ระยอง
กอจ. กระบี่ มัสยิดและสัปปุรุษ

มัสยิดจำปาสระ ทะเบียนเลขที่: 001

หมู่ที่: 1 แขวง/ตำบล: เขาทอง เขต/อำเภอ: เมืองกระบี่ จังหวัด: กระบี่ 0818929159
ประวัติความเป็นมาฯ
   ประวัติความเป็นมาของมัสยิดจำปาสระ ทะเบียนเลขที่ 1หมู่ที่ 1 ต.เขาทอง อ.เมือง จ.กระบี่ เดิมทีประชากรในเขตตำบลเขาทองทั้งหมด รวมพื้นที่ไปจนถึงเขตตำบลหนองทะเลในปัจจุบัน ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีตำบลหนองทะเล การรวมตัวละหมาดวันศุกร์จะทำกันที่มัสยิดบ้านบ่อกั้ง(หัวพรุ)ซึ่งติดอยู่ในเขตการดูแลของมัสยิดท่าพรุปัจจุบัน ซึ่งมัสยิดถูกสร้างขึ้นบนที่ดินของฮัจญีแทนหรือ นายเต๋ พวงนุ่น ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร บริเวณของมัสยิดจะมีโรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนหลังแรกในเขตตำบลเขาทอง ปัจจุบันที่ดินบริเวณนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ ของนายศุภศักดิ์ บุตรหลี ระยะเวลาผ่านพ้นไปหลายปีประชากรและบ้านเรือนเริ่มหนาแน่นมากขึ้นประจวบกับฮัจญีแทน พวงนุ่นและครอบครัวย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่หมู่บ้านท่าเลน หมู่ที่ 3 ต.เขาทอง ในปัจจุบัน ประชากรบางส่วนติดตามไป สัปบุรุษในหมู่บ้านบ่อกั้งที่มาร่วมละหมาดวันศุกร์ก็ลดจำนวนลง  จึงมีมติรื้อมัสยิดแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเพื่อไปสร้างใหม่ใน 2 หมู่บ้าน คือเขาเทียมป่า และบ้านเขากลม ช่วงระหว่างนั้นอยู่ในปี พ.ศ.2478 ในส่วนของมัสยิดที่ปลูกขึ้นใหม่ของหมู่บ้านเขาเทียมป่านั้นถูกสร้างขึ้นบนที่ดินวากัฟของนายลิบ มุคุระ บนเนื้อที่ 1 ไร่เศษ โดยลักษณะมัสยิดสร้างจากอิฐ และไม้เป็นส่วนประกอบ ลักษณะที่โดดเด่นเชิงชายหลังคาและรั้วไม้ต่อกับฝาผนังมัสยิดครึ่งหนึ่งนั้นเป็นไม้แกะสลักทั้งสิ้น โดยนายลิบ มุคุระ และช่างชาวจีน(ไม่ปรากฏนาม) ร่วมกันแกะสลัก ระยะเวลาในการก่อสร้างจำกัด เพื่อให้เสร็จพร้อมสำหรับการละหมาดวันศุกร์  เร่งสร้างฐานและก่อผนังครึ่งหนึ่งที่ทำจากอิฐและเหลือไว้ครึ่งหนึ่งเพื่อติดตั้งฝาผนังที่เป็นไม้สลัก โดยใช้ระยะเวลาไม่นานนักโดยความร่วมมือของคนในหมู่บ้านและให้ชื่อว่า มัสยิดจำปาสระ(ประวัติที่มาของชื่อหมู่บ้านและชื่อมัสยิดจะนำเสนอในส่วนที่ 2) ดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นมัสยิดหลังแรกของจังหวัดกระบี่ ในวันที่ 2 มีนาคม 2492 และแต่งตั้งให้นายสมัน บำรุง ดำรงตำแหน่งอิหม่าม นายลมัยเกาะ ชายพงษ์ ดำรงตำแหน่งคอเต็บ นายละไมยแกน บำรุง ดำรงตำแหน่งบิหลั่น ภายหลังจากปลูกมัสยิดเสร็จแล้ว ก็ดำเนินการปลูก นะซ๊ะ (อาคารเอนกประสงค์) มีลักษณะเป็นอาคารไม้มีใต้ถุน ฝั่งทิศตะวันออกตรงทางขึ้นมีกลองใหญ่โบราณหน้าเดียวทำจากหนังสัตว์ไว้สำหรับตีเพื่อเรียกประชุมลูกบ้านหรือสัปบุรุษ เพราะสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องขยายเสียง อาคารหลังนี้ทางด้านทิศเหนือจะทำเป็นห้องไว้สำหรับเก็บ ถ้วย จาน ชาม ช้อน หม้อ กระทะ เครื่องครัวของมัสยิดที่ใช้สำหรับทำบุญต่าง ๆ ด้านหน้าจะโล่งเป็นลานกว้างไว้สำหรับนั่งทานอาหารเวลาทำบุญ และเป็นที่วางมัยยิต(ศพผู้ตาย) รอคอยญาติและเวลานำไปฝัง และยังเป็นที่อาบน้ำศพอีกด้วย หลายปีต่อมาจำนวนสัปบุรุษเพิ่มมากขึ้นจากการเกิด การแต่งงาน และย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำให้มัสยิดหลังเดิมเกิดความคับแคบ จึงมีการประชุมและมติร่วมกันจะดำเนินการสร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้นบนพื้นที่เดิมแต่ย้ายไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในพื้นที่มัสยิดปัจจุบัน โดยมีการเสนอความคิดเห็นให้สร้างมัสยิดหลังใหม่ให้มีเสาน้อยที่สุด และไม่ให้มีเสาตรงกลางมัสยิด ดังนั้นจึงร่วมกันคิดและลงมือวาดแปลน โดยนายอิบรอเหม เอ็มยุเด็นเป็นผู้ออกแบบจำลองโดยใช้ไม้ระกำมาเหลาและประกอบเป็นมัสยิดจำลองขึ้นก่อน หลังจากนั้นก็ลงมือก่อสร้างจนได้เห็นเป็นมัสยิดหลังปัจจุบัน         ในส่วนที่ 2 จะกล่าวถึงประวัติที่มาของชื่อมัสยิด "จำปาสระ"  แต่เริ่มเดิมทีหมู่บ้านในสะ คือ ชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ทั้งหมดภายหลังพี่น้องในหมู่บ้านนับถือ 2 ศาสนา คือ  ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาพุทธ แต่ความสัมพันธ์ช่างแน่นแฟ้นและรัก สามัคคีกันมาก โดยใช้เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างกัน คือ ถนนฝั่งทิศตะวันออกเป็นพี่น้องชาวพุทธ ฝั่งทิศตะวันตกเป็นชาวมุสลิม ในการคิดตั้งชื่อมัสยิดซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการอยู่ร่วมกัน เลยร่วมกันออกความคิดเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ขบคิดถึงที่ไปที่มาแห่งชื่อนั้น คำว่า "จำปา" นั้นมาจากชื่อของหมู่บ้านมุสลิม คือ"เขาเทียมป่า " ส่วนคำว่า "สระ" นั้นมากจากชื่อหมู่บ้านพี่น้องชาวพุทธ คือ คำว่า "ในสระ" นัยยะแห่งชื่อมัสยิดแอบแฝงความรัก สามัคคีของคนในชุมชนหมู่ที่ 1 ต.เขาทองไว้ด้วยกันตลอดระยะเวลาหลายช่วงอายุคน ส่วนคำว่า “เขาเทียมป่า”  คนสมัยก่อนจะเดินทางไปทะเลหรือไปทำนาช่วงระยะทางตั้งแต่ในสระจนถึงท่าดานตรงทางทิศตะวันตกของมัสยิด จะมีผู้ภูเขา 2 ลูกคนละฝั่ง คือ ฝั่งขวามือ คือเขาดินมีต้นไม้ใหญ่น้อยปกคลุมหนาแน่น ส่วนฝั่งซ้ายมือเป็นภูเขาหิน ซึ่งถ้ามองผ่านหรือขับรถผ่านจะสังเกตเห็นว่าภูเขาทั้ง 2 ลูกมีความสูงเท่ากัน จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน นั่นเอง more
แผนที่นำทาง Google Map

กรรมการมัสยิด

นายมงคล ธรรมศรี

อิหม่าม

นายปิยวิทย์ หยังกุล

คอเต็บ

นายฤทธิชัย ร่าหมาน

บิหลั่น

นายโหยบ สามัญบุตร
เลขานุการ
นายสมศักดิ์ แซ่ตัน
นายทะเบียน
นายประสิทธิ์ หยังกุล
เหรัญญิก
นายวิจิตร เขาทอง
ฝ่ายการศึกษา
นายไพโรจน์ ดินแดง
ฝ่ายวิชาการ
นายสุธา สาระภี
ฝ่ายฮาลาล
นายย่าโกบ ครองงศรีทรัพย์
ฝ่ายซะกาติและสังคมสงเคราะห์
นายวัชระ หยังกุล
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
นายเกษม บำรุง
ฝ่ายอาคารสถานที่
นายบุญลือ บุญมาก
ฝ่ายประสานงาน
นายม่าเหร็น ขนแดง
ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
นายหยาบ ใจตรง
ฝ่ายสตรีและเยาวชน
นางสาวกาญจนา ธัมศรี
ประธานอนุกรรมการมุสลีมะห์
นางสายใจ บุญมาก
รองประธานอนุกรรมการมุสลีมะห์ 1
นางสาวรัตนา กุลสัน
รองประธานอนุกรรมการมุสลีมะห์ 2
นางสาวจันรชนา ใจตรง
อนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ
นางสาวแก้วตา ช่างคิด
อนุกรรมการฝ่ายทะเบียน
นางประดับ ทองคำ
อนุกรรมการฝ่ายเหรัญญิก
นางวันธิรา ดินแดง
อนุกรรมการฝ่ายวิชาการ
นางสาวอุไรรัตน์ กุลสัน
อนุกรรมการฝ่ายการศึกษา
นางสาวนิภา เอ็มยุเด็น
อนุกรรมการฝ่ายฮาลาล
นางสาวสุปราณี โต๊ะเหม
อนุฯ ฝ่ายซากาติสังคมสงเคระห์
นางสาวนลินพร ธรรมศรี
อนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์
นางสาวสุรีย์ โต๊ะเหม
อนุกรรมการฝ่ายอาคารสถานที่
นางสาวดารุณี ใจตรง
อนุกรรมการฝ่ายประสานงาน
นางสาว
อนุกรรมการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
นางสาววรรณดี ต่วนมิหนา
อนุกรรมการฝ่ายสตรีและเยาวชน

สัปปุรุษ

ข้อมูลสัปปุรุษ ครอบครัว ชาย หญิง รวม
สัปปุรุษ ณ ปัจจุบัน 172 385 344 729
สัปปุรุษในเขต 167 380 342 722
สัปปุรุษนอกเขต 5 5 2 7
สัปปุรุษเข้ารับอิสลาม 16 7 10 17
สัปปุรุษย้ายเเข้าจากมัสยิดอื่น 1 1 0 1
สัปปุรุษเสียชีวิต 16 13 4 17
สัปปุรุษย้ายออกไปมัสยิดอื่น 1 1 0 1
สัปปุรุษจำหน่ายออกจากระบบ 0 0 0 0
มัสยิดจำปาสระ
ที่ตั้งเลขที่: 381 หมู่ที่: 1 ถนน/ตรอก/ซอย: เขาเทียมป่า ตำบล/แขวง: เขาทอง
อำเภอ/เขต: เมืองกระบี่ จังหวัด: กระบี่ รหัสไปรษณีย์: 81000 เบอร์โทรศัพท์: 0818929159
จำนวนผู้เข้าชม: 11,944