MASJiDTHAi.COM

หน้าหลัก มัสยิดและสัปปุรุษ กระบี่ชุมพรตรังนครศรีธรรมราชนราธิวาสประจวบคีรีขันธ์ปัตตานีพังงาพัทลุงภูเก็ตยะลาระนองสตูลสุราษฎร์ธานีเชียงใหม่ระยอง
กอจ. ตรัง มัสยิดและสัปปุรุษ

มัสยิดสิเหร่ ทะเบียนเลขที่: 009

หมู่ที่: 6 แขวง/ตำบล: บ่อน้ำร้อน เขต/อำเภอ: กันตัง จังหวัด: ตรัง
ประวัติความเป็นมาฯ
                                                ประวัติความเป็นมาของมัสยิดบ้านสิเหร่         บ้านสิเหร่ คำว่า"สิเหร่"เป็นภาษามาลายูแปลว่า "พลู" บ้านสิเหร่ในสมัยก่อนเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของอำเภอกันตัง ซึ่งในขณะนั้นมีประชากรอาศัยอยู่เพียงไม่กี่ครัวเรือน ตามตำนานเล่าว่าในสมัยนั้นมีพ่อค้าเดินมาจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียมาแวะพักอยู่ริมคลองสิเหร่ ซึ่งบริเวณริมแม่น้ำลำคลองตอนนั้นเต็มไปด้วยต้นพลู และพวกเขาได้เรียกเป็นภาษามาลายูว่า สิเหร่ ต่อมาพวกเขาก็ได้เห็นตลอดแนวริมลำคลองสิเหร่นั้นเป็นสถานที่ที่มีทำเลดีเหมาะในการทำมาหากิน พวกเขาจึงได้ตัดสินใจปลูกบ้านเรือนและได้อาศัยอยู่ตรงนั้นจนกระทั่งบ้านสิเหร่ก็ค่อยๆมีประชากรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยนั้นมีประชากรประมาณ 10-15 ครัวเรือนมีอาชีพทำไร่ ทำนา ทำการประมง ต่อมาได้รวมตัวกันเพื่อก่อตั้งสถานที่ประกอบศาสนกิจเรียกว่า บาลาเซาะ และเป็นสถานที่ใช้เพื่อประกอบการเรียนการสอนศาสนาแก่คนในหมู่บ้าน และใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ศูนย์กลางในการทำกิจกรรมทั้งหมดของหมู่บ้าน ต่อมาก็มีผู้บริจาคที่ดินประมาณ 1ไร่เศษ เพื่่อก่อสร้างมัสยิดขนาด 8x12เมตร ใช้ไม้เป็นวัสดุในการก่อสร้างแบบยกพื้นขึ้นสูงประมาณ 1 เมตร พื้นกระดานผนังกันด้วยกระดานครึ่งท่อนหลังคามุงสังกะสี โดยมีนายกอเต็ม ยาหมัน เป็นผู้นำ หลายปีต่อมาประชากรเพิ่มมากขึ้นการพัฒนาก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ         เมื่อปีพ.ศ.2491 ได้มีการเเต่งตั้งคณะกรรมการบริหารมัสยิดขึ้นมาเพื่อให้ถูกต้องตามกระบวนการของกฎหมายว่าด้วยกรมศาสนากระทรวงวัฒนธรรมโดยมี 1.นายสัน เจะมะอะ เป็นอิหม่าม 2.นายโสบ ไมหยา เป็นคอเต็บ 3.นายกอเต็ม ยาหมัน เป็นบิหลั่น         เมื่อปีพ.ศ.2510ท่านอิหม่านสัน เจะมะอะ ก็ได้ถึงแก่กรรมมด้วยโรคชรา ท่านก็ได้จากพี่น้องชาวบ้านสิเหร่ทิ้งไว้แค่ความดีงามที่ท่านได้สร้างไว้ ทำให้ชาวบ้านสิเหร่และพี่น้องบริเวณใกล้เคียงตื่นตัวในการศึกษาและส่งลูกหลานไปศึกษาหาความรู้ในด้านศาสนา(เรียนปะเนาะ)มากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแทนที่โดยมี 1.นายระหมาน ไมหยา เป็นอิหม่าม 2.นายแอน บินหมูด เป็นคอเต็บ 3.นายโสบ ไมหยา เป็นบิหลั่น                  ท่านดำรงตำแหน่งอิหม่ามเป็นระยะเวลา 4ปี และก็ได้ลาออกเมื่อปีพ.ศ.2514 หลังจากนั้นก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นซึ่งมี 1.นายแดง สาแหละ เป็นอิหม่าม 2.นายบาหรี บาโอย เป็นคอเต็บ 3.นายหน้าหู บินหมูด เป็นบิหลั่น         ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2518 ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาซึ่งมี 1.นายหน้าหู บินหมูด เป็นอิหม่าม 2.นายบาหรี บาโอย เป็นคอเต็บ 3. - เป็นบิหลั่น         ต่อมาในปีพ.ศ.2522นายหน้าหู บินหมูด ก็ได้ดำรงตำแหน่งอิหม่ามหลังจากนั้นก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นโดยมี 1.นายเสริมศักดิ์ บินหมูด เป็นอิหม่าม 2.นายบาหรี บาโอย เป็นคอเต็บ 3.นายหน้าหู บินหมูด เป็นบิหลั่น              ในตอนนี้ประชากรในหมู่บ้านก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับชาวบ้านบางส่วนได้แยกย้ายไปสร้างบ้านเรือนทำสวนยางพารา ซึ่งมีระยะทาง 2 กิโลเมตร ก็ได้ชวยกันสร้างสถานที่ละหมาดชั่วคราว(บาลาเซาะ)ขึ้นอีกแห่ง ปัจจุบันได้ทำการจดทะเบียนขึ้นเป็นมัสยิดเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ชื่อว่ามัสยิดนูรุลฮีดายะห์(บ้านทุ่งเจริญ) ในขณะที่ท่าน เสริมศักดิ์ บินหมูด ดำรงตำแหน่งเป็นอิหม่าม ท่านก็ได้มีการพัฒนาในเรื่องของการศึกษาทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนท่านก็ได้ให้คณะกรรมการมัสยิดทำการรวบรวมเด็กๆเยาวชนให้ได้มีการศึกษา ซึ่งในขณะนั้นก็มีอีกหลายๆคนที่ได้ช่วยกันสอนโดนเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านบาหรี บ้าโอย และท่านเสริมศักดิ์ บินหมูดก็ได้ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยสอบที่33 สมาคมคุรุสัมพันธ์ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อปี พ.ศ.2528 ในหมู่บ้านก็ได้มีการเริ่มใช้ไฟฟ้า และในปีเดียวกันท่านเสริมศักดิ์ บินหมูด ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งอิหม่ามแต่ท่านก็ได้มีการส่งเสริมและพัฒนาในด้านศึกษาตลอดมา และในปีเดียวกันนี้ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้น โดยมี 1.นายอะหลี เจะมะอะ เป็นอิหม่าม 2.นายบาหรี บ้าโอย เป็นคอเต็บ 3.นายหน้าหู บินหมูด เป็นบิหลั่น         ในขณะที่ท่านอะหลี เจะมะอะ ได้ดำรงตำแหน่งอิหม่าม ท่านก็ได้มีการสานต่อในเรื่องของการศึกษาโดยที่มีท่านบาหรี บ้าโอย ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นคอเต็บก็ได้มีการสอนชาวบ้านและเยาวชนในหมู่บ้านและในขณะนั้นก็ยังมีเยาวชนที่จบจากสถาบันปอเนาะต่างๆและจบหลักสูตรของสมาคมคุรุสัมพันธ์ก็ได้มาช่วยกันสอนให้แก่คนในหมู่บ้านในเรื่องหลักการของศาสนา ในตอนนี้ถนนภายในหมู่บ้านก็ได้มีการลาดยางขึ้น ต่อมาในปีพ.ศ.2535 ท่านอะหลี เจะมะอะ ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งอิหม่ามเนื่องจากประชาชนในหมู่บ้านได้เลือกให้ท่านเป็นผู้ใหญ่บ้าน และในปีเดียวกันนี้ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นโดยมี 1.นายดิหนัน บาหยัน เป็นอิหม่าม 2.นายบาหรี บ้าโอย เป้นคอเต็บ 3.นายสะหะ ตุ้งกู เป็นบิหลั่น         หลังจากที่ท่านดิหนัน บาหยัน ได้ดำรงตำแหน่งอิหม่าม ท่านก็ได้สานต่อในเรื่องของการศึกษาและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพราะในตอนนั้นเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านที่กำลังศึกษาฟัรดูอัย ของสมาคมคุรุสัมพันธ์มีประมาณ100กว่าคนและเปิดรับนักเรียนก่อนวัยประมาณ10กว่าคนในปีแรกขึ้นกับพัฒนาการอำเภอกันตังซึ่งในขณะนั้นอาคารเรียนถูกสร้างด้วยไม้ เสากลม   more
แผนที่นำทาง Google Map

กรรมการมัสยิด

นายบรรลือ หมวดแดหวา

อิหม่าม

นายเจะหมิ หาบหา

คอเต็บ

นายสะหะ ตุ้งกู

บิหลั่น

นายสนธยา หมวดแดหวา
เลขานุการ
นายสุวิทย์ หลีแคล้ว
นายทะเบียน
นายสนั่น ทองวารี
เหรัญญิก
นายสมศักดิ์ สะเละ
ฝ่ายการศึกษา
นายหมาดดม หมวดแดหวา
ฝ่ายวิชาการ
นายมูหัมมัด บินหมูด
ฝ่ายฮาลาล
นายสมบูรณ์ ทองวารี
ฝ่ายซะกาติและสังคมสงเคราะห์
นายอำนาจ หมวดแดหวา
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
นายร่อศักดิ์ บินโต๊ะไบ้
ฝ่ายอาคารสถานที่
นายศรันยู เสร่าดี
ฝ่ายประสานงาน
นายไรหนาน หะหยัง
ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
นายชะลอ น้ำผุด
ฝ่ายสตรีและเยาวชน

สัปปุรุษ

ข้อมูลสัปปุรุษ ครอบครัว ชาย หญิง รวม
สัปปุรุษ ณ ปัจจุบัน 191 436 445 881
สัปปุรุษในเขต 190 433 444 877
สัปปุรุษนอกเขต 1 3 1 4
สัปปุรุษเข้ารับอิสลาม 15 9 8 17
สัปปุรุษย้ายเเข้าจากมัสยิดอื่น 0 0 0 0
สัปปุรุษเสียชีวิต 17 8 10 18
สัปปุรุษย้ายออกไปมัสยิดอื่น 0 0 0 0
สัปปุรุษจำหน่ายออกจากระบบ 0 0 0 0
มัสยิดสิเหร่
ที่ตั้งเลขที่: 9 หมู่ที่: 6 ถนน/ตรอก/ซอย: ตำบล/แขวง: บ่อน้ำร้อน
อำเภอ/เขต: กันตัง จังหวัด: ตรัง รหัสไปรษณีย์: 92110 เบอร์โทรศัพท์:
จำนวนผู้เข้าชม: 33,410