ประวัติหมู่บ้าน จากการสอบถามในที่ประชุมถึงประวัติของบ้านควน ผู้อาวุโสในที่ประชุมฟังว่า บ้านควนเดิมเรียกว่า บ้านบาโงกาลูแป แปลว่า เนิน ตั้งหลายสิบปีแล้ว มีกำนันคนแรกชื่อนายมะแซ แอมอง ต่อมานามสกุลแอมอง เปลี่ยนเป็น หามะบูเกะ และเปลี่ยนเป็นอาบู ในอดีต มีประตูชัยเข้า-ออก หมู่บ้านทางเดียวเพื่อใช้ในการควบคุม และสร้างความปลอดภัยให้กับหมู่บ้าน การปกครองยึดหลักประชาธิปไตย คนในหมู่บ้านแต่งงานกันเฉพาะภายในหมู่บ้าน การค้าก็จะติดต่อค้าขายกับตำบลท่าสาป ศิลปวัฒนธรรมมีการแสดงหนังตะลุง มโนราห์ ภายหลังหยุดไป เนื่องจากมีประเพณีและวัฒนธรรมใหม่เข้า ผู้แสดงเกิดความอับอาย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2500 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านควน
สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน/ชุมชน ลักษณะภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยว และการเดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน มีสภาพพื้นที่ เป็นภูเขาสูงต่ำ สลับไปทางทิศตะวันออก และค่อยลาดต่ำเป็นที่ราบและที่ราบลุ่ม ฤดูฝนมีน้ำท่วมขังเกือบทุกปี ลักษณะภูมิอากาศ มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน อากาศร้อนจัดในเดือนมีนาคม เมษายน ของทุกปี ปริมาณน้ำสูงสุดในเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม ปริมาณน้ำต่ำสุดในเดือนเมษายน ตุลาคม
ถนนภายในหมู่บ้านมีถนนสายหลัก 1 สาย เป็นถนนลาดยางระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร นอกจากนั้นเป็นถนนดินลูกรังเล็กๆ ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางในการเดินทางไปทำสวน
การคมนาคมของประชาชนในหมู่บ้านใช้รถจักรยานยนต์และรถยนต์ส่วนตัว ไม่มีรถรับจ้างโดยใช้เส้นทางหลวงชนบท ยล 3003 สายท่าสาป-ลำใหม่ ผ่านถึงพื้นที่ หมู่ที่ 4,3,2 เป็นทางลัดไปอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
วิเคราะห์และอธิบายทุนเดิมที่มีอยู่ในชุมชน เช่น. มีมัสยิด มีศูนย์อบรมจริยธรรม มีกลุ่มนาปรังและนาปี มีนักวิชาการ มีผู้นำศาสนา มีผู้นำท้องที่ มีผู้นำท้องถิ่น (อบต.) มีกรรมการหมู่บ้าน มี อสม. มีการสอนศาสนาทุกคืน มีกลุ่มเยาวชน มีกลุ่มแม่บ้าน/สตรี ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำระดับจังหวัด ผู้ประสานงานเครือข่ายลุ่มน้ำปัตตานี เป็นหมู่บ้านนำร่องการบริหารจัดการน้ำชุมชน มีกองทุนฌาปนกิจศพ มีสภากาแฟ มีคณะกรรมการบริการบริหารจัดการน้ำชุมชน มีลานกีฬาเพื่อสุขภาพ มีแหล่งเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ภาคีเครือข่ายทรัพยากรสิ่งแวดล้อม กองทุน กทบ. ฐานข้อมูลชุมชน และ มีแผนชุมชน พร้อมทั้งเล่าประสบการณ์ในการทำกิจกรรมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และอธิบายผลการดำเนินกิจกรรมให้ชัดเจน
ชุมชนบ้านควน หมู่ที่ 5 ตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นหนึ่งในหกชุมชนของตำบลพร่อน ที่ถือว่าเป็นชุมชนที่เข้มแข็งระดับตำบลพร่อน เนื่องจากกระบวนการบริหารจัดการด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคต่าง ๆ จะกระทำด้วยการบริหารระบบเปิด ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบกันเอง เพื่อประโยชน์ของชุมชนเเอง กล่าวคือ ยืดการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยเฉพาะ ผู้นำที่เสาหลักเป็นหนึ่งเดียวไม่มีความขัดแย้งกัน ตรงนี้ถือว่าเป็นตัวชี้วัดของการบริหารจัดการพื้นที่ที่ประชาชนให้ความร่วมมือยิ่ง เพราะผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม เมื่อผู้นำดี ประชาชนก็เป็นผู้ตามที่ดีไปด้วย ชุมชนบ้านควน มีกลุ่มนาปรังที่เข้มแข็ง มีบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภคที่เข้มแข็ง โดยยึดหลักความพอเพียงกับที่ชุมชนมีอยู่
วิสัยทัศน์ชุมชนบ้านควน
หมู่บ้านเกษตรกร เศรษฐกิจดี สุขภาพดี ปราศจากยาเสพติด รู้จักการออม เอื้ออารี
รักใคร่สามัคคี ทะนุบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ครอบครัวเข้มแข็งพึ่งตนเองได้