ประวัติความเป็นมาของมัสยิดบ้านสิเหร่
บ้านสิเหร่ คำว่า"สิเหร่"เป็นภาษามาลายูแปลว่า "พลู" บ้านสิเหร่ในสมัยก่อนเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของอำเภอกันตัง ซึ่งในขณะนั้นมีประชากรอาศัยอยู่เพียงไม่กี่ครัวเรือน ตามตำนานเล่าว่าในสมัยนั้นมีพ่อค้าเดินมาจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียมาแวะพักอยู่ริมคลองสิเหร่ ซึ่งบริเวณริมแม่น้ำลำคลองตอนนั้นเต็มไปด้วยต้นพลู และพวกเขาได้เรียกเป็นภาษามาลายูว่า สิเหร่ ต่อมาพวกเขาก็ได้เห็นตลอดแนวริมลำคลองสิเหร่นั้นเป็นสถานที่ที่มีทำเลดีเหมาะในการทำมาหากิน พวกเขาจึงได้ตัดสินใจปลูกบ้านเรือนและได้อาศัยอยู่ตรงนั้นจนกระทั่งบ้านสิเหร่ก็ค่อยๆมีประชากรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยนั้นมีประชากรประมาณ 10-15 ครัวเรือนมีอาชีพทำไร่ ทำนา ทำการประมง ต่อมาได้รวมตัวกันเพื่อก่อตั้งสถานที่ประกอบศาสนกิจเรียกว่า บาลาเซาะ และเป็นสถานที่ใช้เพื่อประกอบการเรียนการสอนศาสนาแก่คนในหมู่บ้าน และใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ศูนย์กลางในการทำกิจกรรมทั้งหมดของหมู่บ้าน ต่อมาก็มีผู้บริจาคที่ดินประมาณ 1ไร่เศษ เพื่่อก่อสร้างมัสยิดขนาด 8x12เมตร ใช้ไม้เป็นวัสดุในการก่อสร้างแบบยกพื้นขึ้นสูงประมาณ 1 เมตร พื้นกระดานผนังกันด้วยกระดานครึ่งท่อนหลังคามุงสังกะสี โดยมีนายกอเต็ม ยาหมัน เป็นผู้นำ หลายปีต่อมาประชากรเพิ่มมากขึ้นการพัฒนาก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ
เมื่อปีพ.ศ.2491 ได้มีการเเต่งตั้งคณะกรรมการบริหารมัสยิดขึ้นมาเพื่อให้ถูกต้องตามกระบวนการของกฎหมายว่าด้วยกรมศาสนากระทรวงวัฒนธรรมโดยมี
1.นายสัน เจะมะอะ เป็นอิหม่าม
2.นายโสบ ไมหยา เป็นคอเต็บ
3.นายกอเต็ม ยาหมัน เป็นบิหลั่น
เมื่อปีพ.ศ.2510ท่านอิหม่านสัน เจะมะอะ ก็ได้ถึงแก่กรรมมด้วยโรคชรา ท่านก็ได้จากพี่น้องชาวบ้านสิเหร่ทิ้งไว้แค่ความดีงามที่ท่านได้สร้างไว้ ทำให้ชาวบ้านสิเหร่และพี่น้องบริเวณใกล้เคียงตื่นตัวในการศึกษาและส่งลูกหลานไปศึกษาหาความรู้ในด้านศาสนา(เรียนปะเนาะ)มากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแทนที่โดยมี
1.นายระหมาน ไมหยา เป็นอิหม่าม
2.นายแอน บินหมูด เป็นคอเต็บ
3.นายโสบ ไมหยา เป็นบิหลั่น
ท่านดำรงตำแหน่งอิหม่ามเป็นระยะเวลา 4ปี และก็ได้ลาออกเมื่อปีพ.ศ.2514 หลังจากนั้นก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นซึ่งมี
1.นายแดง สาแหละ เป็นอิหม่าม
2.นายบาหรี บาโอย เป็นคอเต็บ
3.นายหน้าหู บินหมูด เป็นบิหลั่น
ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2518 ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาซึ่งมี
1.นายหน้าหู บินหมูด เป็นอิหม่าม
2.นายบาหรี บาโอย เป็นคอเต็บ
3. - เป็นบิหลั่น
ต่อมาในปีพ.ศ.2522นายหน้าหู บินหมูด ก็ได้ดำรงตำแหน่งอิหม่ามหลังจากนั้นก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นโดยมี
1.นายเสริมศักดิ์ บินหมูด เป็นอิหม่าม
2.นายบาหรี บาโอย เป็นคอเต็บ
3.นายหน้าหู บินหมูด เป็นบิหลั่น
ในตอนนี้ประชากรในหมู่บ้านก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับชาวบ้านบางส่วนได้แยกย้ายไปสร้างบ้านเรือนทำสวนยางพารา ซึ่งมีระยะทาง 2 กิโลเมตร ก็ได้ชวยกันสร้างสถานที่ละหมาดชั่วคราว(บาลาเซาะ)ขึ้นอีกแห่ง ปัจจุบันได้ทำการจดทะเบียนขึ้นเป็นมัสยิดเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ชื่อว่ามัสยิดนูรุลฮีดายะห์(บ้านทุ่งเจริญ) ในขณะที่ท่าน เสริมศักดิ์ บินหมูด ดำรงตำแหน่งเป็นอิหม่าม ท่านก็ได้มีการพัฒนาในเรื่องของการศึกษาทั้งผู้ใหญ่และเยาวชนท่านก็ได้ให้คณะกรรมการมัสยิดทำการรวบรวมเด็กๆเยาวชนให้ได้มีการศึกษา ซึ่งในขณะนั้นก็มีอีกหลายๆคนที่ได้ช่วยกันสอนโดนเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านบาหรี บ้าโอย และท่านเสริมศักดิ์ บินหมูดก็ได้ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยสอบที่33 สมาคมคุรุสัมพันธ์ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อปี พ.ศ.2528 ในหมู่บ้านก็ได้มีการเริ่มใช้ไฟฟ้า และในปีเดียวกันท่านเสริมศักดิ์ บินหมูด ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งอิหม่ามแต่ท่านก็ได้มีการส่งเสริมและพัฒนาในด้านศึกษาตลอดมา และในปีเดียวกันนี้ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้น โดยมี
1.นายอะหลี เจะมะอะ เป็นอิหม่าม
2.นายบาหรี บ้าโอย เป็นคอเต็บ
3.นายหน้าหู บินหมูด เป็นบิหลั่น
ในขณะที่ท่านอะหลี เจะมะอะ ได้ดำรงตำแหน่งอิหม่าม ท่านก็ได้มีการสานต่อในเรื่องของการศึกษาโดยที่มีท่านบาหรี บ้าโอย ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นคอเต็บก็ได้มีการสอนชาวบ้านและเยาวชนในหมู่บ้านและในขณะนั้นก็ยังมีเยาวชนที่จบจากสถาบันปอเนาะต่างๆและจบหลักสูตรของสมาคมคุรุสัมพันธ์ก็ได้มาช่วยกันสอนให้แก่คนในหมู่บ้านในเรื่องหลักการของศาสนา ในตอนนี้ถนนภายในหมู่บ้านก็ได้มีการลาดยางขึ้น ต่อมาในปีพ.ศ.2535 ท่านอะหลี เจะมะอะ ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งอิหม่ามเนื่องจากประชาชนในหมู่บ้านได้เลือกให้ท่านเป็นผู้ใหญ่บ้าน และในปีเดียวกันนี้ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นโดยมี
1.นายดิหนัน บาหยัน เป็นอิหม่าม
2.นายบาหรี บ้าโอย เป้นคอเต็บ
3.นายสะหะ ตุ้งกู เป็นบิหลั่น
หลังจากที่ท่านดิหนัน บาหยัน ได้ดำรงตำแหน่งอิหม่าม ท่านก็ได้สานต่อในเรื่องของการศึกษาและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพราะในตอนนั้นเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านที่กำลังศึกษาฟัรดูอัย ของสมาคมคุรุสัมพันธ์มีประมาณ100กว่าคนและเปิดรับนักเรียนก่อนวัยประมาณ10กว่าคนในปีแรกขึ้นกับพัฒนาการอำเภอกันตังซึ่งในขณะนั้นอาคารเรียนถูกสร้างด้วยไม้ เสากลม