มัสยิดอัดเตาฟีกีย๊ะห์ (ทะเบียนเลขที่: 005)

ประวัติความเป็นมาฯ

ประวัติความเป็นมาของมัสยิดอัตเตาฟีกีย๊ะห์ (บ้านใต้ )
หมู่ที่ 3 ตำบล กำพวน อำเภอ สุขสำราญ จังหวัด ระนอง
เมื่อราวประมาณปี พุทธศักราช 2438 ได้มีการอพยพชาวเมืองถลางจังหวัดภูเก็ตเดินทางรอนแรมทางทะเลจากถิ่นอาศัยเดิมสู่แหล่งที่ทำมาหากินใหม่ ลัดเลาะในการเดินทางมาถึงปากคลองกำพวน ซึ่งสมัยนั้นเป็นปากคลองแม่น้ำที่มีความกว้างเรือขนาดใหญ่เข้าออกปากคลองได้อย่างสะดวกสบาย คลองกำพวนสมัยนั้นเมื่อประมาณปี 2438 เป็นคลองที่มีความลึกของน้ำขนาดที่เรือบันทุกสินค้าเข้ามาจอดขายสินค้าใกล้ๆบริเวณคอสะพานคลองกำพวนในปัจจุบันได้ มีการขนานนามคลองนี้ว่า “คลองท่าหลา” หมายถึงศาล ( ศาลบนบานสิ่งศักสิทธิ์ความเชื่อในสมัยนั้น ) โดยเรือที่นำสินค้าเข้ามาจอดในบริเวณคลองท่าหลานั้น มีสองลำด้วยกันคือ เรือโกจิ้ว และเรือเถ่าแกมาลี เมื่อเรือมาจอดขายสินค้า จะมีเถ่าแก่เรือนำของเซ่นไหว้มาวางไว้ที่ศาล และจะมีการจุดประทัด เป็นอันรู้กันว่าวันนี้มีเรือนำสินค้าเข้ามาจอดขาย ซึ่งสองฝั่งของลำคลองมีหวายจำนวนมากขึ้นกระจัดกระจายทั้งสองฝั่งคลอง เป็นหวายเส้นใหญ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่าเหรียญห้า ชาวบ้านเรียกหวายชนิดนี้ว่าหวายกำพวน จึงเป็นที่มาของคำว่า คลองกำพวน และ ตำบลกำพวนจนถึงปัจจุบัน
เมื่อประมาณปี พ.ศ 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 6 ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการใช้นามสกุลขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ชนกลุ่มนี้ที่อาศัยอยู่เดิมและเป็นผู้บุกเบิกบ้านกำพวน ในปัจจุบัน นำโดย นายริน ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งขนานนามให้เป็นโต๊ะหลวงริน ได้รับพระราชทานนามสกุลเป็น กำพวน ต้นกำเนินนามสกุล กำพวน และได้รับเหรียญตราตั้งเมืองกำพวนอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีตระกูลต้นกำเนิดนามสกุล สาลี หาญจิตร มาโนช และ ช่วยชาติ ซึ่งมีลูกหลานนามสกุล เหล่านี้ตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายอยู่ในชุมชนแห่งนี้ปัจจุบันที่ยังมีชีวิตอาศัยอยู่ในตำบลกำพวนมากมาย และสุสานโต๊ะหลวงริน กำพวน ก็ได้ฝังที่สุสานสาธารณประโยชน์ ( กุโบร์ หมู่ 3 ) ยังมีให้เห็นร่องรอยถึงทุกวันนี้
ส่วนคำว่าบ้านใต้และบ้านเหนือกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ทางเหนือคลองกำพวน ทำไร่ทำนาอยู่เรียกว่า บ้านเหนือ ส่วนชุมชนที่อาศัยอยู่ฝั่งคลองด้านใต้ เรียกว่า บ้านใต้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ในการเรียกชื่อถิ่นอาศัย
มัสยิดอัตเตาฟีกีย๊ะ ( บ้านใต้ ) หมู่ 3 ตำบลกำพวน ซึ่งจัดตั้งโดยคนกลุ่มที่อาศัยอยู่ในบ้านใต้ โดยการสร้างครั้งแรกเป็นทรงบ้านธรรมดาใช้ในการทำละหมาดวันศุกร์และละหมาดประจำวัน เมื่อมีการทำละหมาดมากขึ้น ได้มีการต่อเติมออกทั้งด้านขวาและด้านซ้าย ชาวบ้านเรียกว่า สร้างแบบหลังคาห้า โดยโต๊ะอีหม่ามที่สามารถค้นคว้าได้จากผู้เฒ่า ผู้อาวุโส ในหมู่บ้าน มีดังนี้
1 . นายดัน สาลี
2. นายสมัน สมหวัง
5 . นายย่าโกบ อินตัน เริ่ม พ.ศ 2527 จนถึงปัจจุบัน
บนเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่เศษ โดยการบริจาค ( วากัฟ ) ของนายดัน สาลี และพี่น้องตระกูลสาลี ( ขอเอกองค์อัลเลาะห์ทรงให้ความดีกับบุคคลทั้งหลายด้วยเถิด อามีน ) ซึ่งบรรดาพี่น้องของตระกูลสาลี มีพี่น้องทั้งหมด 4 คนด้วยกัน
คือ 1 .นางลีม๊ะ สาลี
2. นางซาเปี๊ยะ สาลี
3. นางซาเรี๊ยะ สาลี
4 นายหยาบ สาลี
ต่อมาได้ทำการรางวัดออกโฉนดในนามของมัสยิดอัตเตาฟีกีย๊ะห์ โดยจดทะเบียนเป็นมัสยิดหลังที่ 5 ของจังหวัดระนองเมื่อปี พ.ศ 2489 โดยนายยูนุ้ย สาลี อีหม่าม นายเหม ซื่อตรง กำนันตำบลกำพวน และนายจง พรมวีระ ( โกเต็กหยง ) สส. ในสมัยนั้น
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมัสยิดอัตเตาฟีกีย๊ะห์ ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง คำนวณอายุได้ประมาณ 124 ปี ซึ่งเป็นมัสยิดหลังที่เก่าแก่หลังหนึ่งของจังหวัดระนอง และเป็นมัสยิดกลางของตำบลกำพวน ซึ่งขณะนี้จังหวัดระนองมีมัสยิดทั้งหมด 32 แห่งทั่วทั้งจังหวัด

แหล่งข้อมูล : หนังสือสืบค้นประวัติท้องถิ่นชื่อบ้านนามเมืองภูมิปัญญาท้องถิ่น
สภาวัฒนธรรมกิ่งอำเภอสุขสำราญ
คำบอกเล่าจาก
1 นายยูนุ้ย สาลี อดีตอีหม่ามประจำมัสยิด
2 .นางกาลาโสม กำพวน ชาวบ้าน
3.นายซาโหด กำพวน บิดาฮัจญีกอเดช กำพวน ผู้ก่อตั้ง
โรงเรียนดำรงศาสน์วิทยา
4. นายสาเหรบ เรียบร้อย อดีตผู้ใหญ่บ้าน
รวบรวมข้อมูล : นายนริศ ชิดเอื้อ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3




มัสยิดอัดเตาฟีกีย๊ะห์
ที่ตั้งเลขที่: 5  หมู่ที่: 3  ถนน/ตรอก/ซอย: เพชรเกษม  ตำบล/แขวง: กำพวน  
อำเภอ/เขต: สุขสำราญ   จังหวัด: ระนอง   รหัสไปรษณีย์: 85120  เบอร์โทรศัพท์: 0831041244
จำนวนผู้เข้าชม: 7,309