����������มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี�ตั้งอยู่ถนนยะรัง�ตำบลอาเนาะรู�อำเภอเมืองปัตตานี�เลขทะเบียนที่�249�มีประวัติและความเป็นมาดังนี้
����������ในปีพุทธศักราช�2497�รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของศาสนาอิสลามว่าเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวปัตตานีส่วนใหญ่นับถืออย่างเคร่งครัดอันจะนำมาซึ่งสันติสุข�ประกอบกับในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้�มีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม�(มุสลิม)�เป็นจำนวนมาก�สมควรสร้างมัสยิดกลางที่มีขนาดใหญ่�และสวยงามขึ้นเพื่อเป็นศรีสง่าแก่ชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามทั่วประเทศตลอดจนเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ�ของชาวไทยมุสลิม�จึงได้พิจารณาพื้นที่บริเวณริมถนนหลวงสายปัตตานี-ยะลา�ตำบลอาเนาะรู�อำเภอเมืองปัตตานี�เนื้อที่ประมาณ�3�ไร่�55�ตารางวา�คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติงบประมาณสำหรับการก่อสร้างมัสยิดกลางปัตตานีขึ้น�โดย�ฯพณฯ�พลตำรวจเอก�เผ่า�ศรียานนท์�รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้นได้เดินทางมาวางศิลาฤกษ์�เมื่อวันที่�6�กรกฎาคม�พ.ศ.2500�เวลา�10.00�น.
����������มัสยิดกลางแห่งนี้ใช้เวลาในการก่อสร้างและตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดารเป็นเวลา�9�ปีกว่าจะแล้วเสร็จ�ต่อมาเมื่อวันที่�25�พฤษภาคม�2506�ฯพณฯ�จอมพลสฤษดิ์�ธนะรัชต์�นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้เดินทางมาประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการและมอบมัสยิดแห่งนี้ให้แก่ชาวไทยมุสลิมจังหวัดปัตตานี�โดยให้ตั้งชื่อว่า�มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี�
���������มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีสร้างเป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น�รูปทรงคล้ายกับ�ทัชมาฮาล�ประเทศอินเดีย�ตรงกลางเป็นอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร�4�ทิศ�มีหอคอยอยู่สองข้างสูงเด่นเป็นสง่า�บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่�ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง�มีระเบียงสองข้าง�ภายในห้องโถงมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบเป็นที่สำหรับ�คอฏีบ�ยืนอ่านคุฏบะฮ์ในการละหมาดวันศุกร์�หอคอยสองข้างนี้เดิมใช้เป็นหอกลางสำหรับตีกลอง�เป็นสัญญาณเรียกให้มุสลิมมาร่วมปฏิบัติศาสนกิจ�ต่อมาใช้เป็นที่ติดตั้งลำโพง�เครื่องขยายเสียงแทนเสียงกลอง�ปัจจุบันขยายด้านข้างออกไปทั้ง�2�ข้าง�และสร้างหอบัง�(อะซาน)�พร้อมขยายสระน้ำและที่อาบน้ำละหมาดให้ดูสง่างามยิ่งขึ้น�ภายในมัสยิดประดับด้วยหินอ่อนอย่างสวยงาม
���������-�เมื่อวันที่�21�ตุลาคม�2536�พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว�ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ�พระบรมราชินีนาถ�เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนผู้นำศาสนาอิสลามและประชาชน�ณ�มัสยิดกลางปัตตานี�พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ�ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับ�ฯพณฯ�รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ�(นายสัมพันธ์�ทองสมัคร)�ให้ดำเนินการบูรณะปรับปรุงอาคารมัสยิดกลางปัตตานี
����������กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดให้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว�ทรงครองศิริราชสมบัติเป็นปีที่�50�ใน�พ.ศ.2539
�����������-�วันที่�11�พฤศจิกายน�2536�ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี�(นายพลากร�สุวรรณรัฐ)�ได้ลงนามคำสั่งจังหวัดปัตตานี�ที่�1627/2536�แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อประสานและติดตามงานต่อเติมอาคารมัสยิดกลางปัตตานี�จำนวน�12�คน
�����������-�วันที่�17�ธันวาคม�2536�เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร�ประกอบด้วย�สถาปนิก�และนายช่างโยธา�ได้มาสำรวจอาคารมัสยิดกลางเพื่อออกแบบปรับปรุงต่อเติม
�����������-�วันที่�22�ธันวาคม�2536�ฯพณฯ�รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ�นายปราโมทย์�สุขุม�ได้เชิญ�นายอุดมศักดิ์�อัศวรางกูร�รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี�นายสวัสดิ์�แก้วสมบูรณ์�ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี�นายนิเดร์�วาบา�ดาโต๊ะยุติธรรมประจำจังหวัดปัตตานี�นายอับดุลวาฮับ�อับดุลวาฮับ�ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี�นายนิเล็ก�สุไลมาน�เทศมนตรีเมืองปัตตานี�เพื่อร่วมประชุมวางแผนการบูรณะขยายอาคารมัสยิดกลางปัตตานี�ซึ่งที่ประชุมได้มติ�ดังนี้
������������1.�บูรณะและขยายอาคารให้ยึดรูปแบบเดิม
������������2.�ขยายและต่อเติมอาคารออกทั้ง�2�ข้าง
������������3.�เพิ่มหออะซาน�2�หอ
������������4.�ใช้วัสดุที่ได้มาตรฐานผลิตในประเทศไทย
�����������-�วันที่�19�เมษายน�2537�กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้กรมการศาสนา�เป็นผู้ออกแบบและกำหนดงบประมาณ�ในการบูรณะต่อเติมเป็นเงิน�35,212,000�บาท�(สามสิบห้าล้านสองแสนหนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน)�คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติตามหนังสือที่�สร�0202/10614�ลงวันที่�18�มีนาคม�2537�ให้กระทรวงศึกษาธิการเสนอแปรญัตติ�เพื่อของบประมาณรายจ่ายประจำปี�2538�จำนวน�12�ล้านบาท�และส่วนที่เหลือให้เป็นงบประมาณผูกพันในปี�2539�และปี�2540�แต่ปรากฏว่าในปีงบประมาณ�2538�ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแต่อย่างใด
����������������จากการติดตามการจัดตั้งงบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ�ได้ตั้งงบประมาณในปี�2539�เป็นเงิน�30�ล้านบาท�ปีงบประมาณ�2540�เป็นเงิน�5.212�ล้านบาท�และจากการประสานงานทราบว่า�สำนักงบประมาณได้ตั้งงบประมาณปรับปรุงสิ่งก่อสร้างเพียง�4,601,100�บาทเท่านั้น
����������������จังหวัดได้มีหนังสือถึง�ฯพณฯ�นายกรัฐมนตรี�(นายบรรหาร�ศิลปอาชา)�ผู้นำฝ่ายค้าน�(นายชวน�หลีกภัย)�ผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี�(นายมุข�สุไลมาน)�รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม�(นายวันมูหะมัดนอร์�มะทา)�และอธิบดีกรมการศาสนา�เพื่อให้การสนับสนุนในการขอแปรญัตติงบประมาณให้ได้�30�ล้านบาทในปี�2539�เพื่อจะได้บูรณะต่อเติมมัสยิดกลางให้แล้วเสร็จสมบูรณ์
�����������-�วันที่�14�กันยายน�2546�สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช�ฯ�เสด็จพระราชดำเนินพระราช�ทานรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศการประกวดการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกรุอ่านแห่งประเทศไทย�ณ�มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี�ผู้ชนะเลิศฝ่ายชาย�คือ�นายสุกรี�บันบา�ผู้แทนจากจังหวัดนครนายก�รองชนะเลิศอันดับ�1�นายอาหามะ�กาแว�ผู้แทนจากจังหวัดกระบี่�รองชนะเลิศอันดับ�2�นายอุสมาน�โต๊ะอาลี�ผู้แทนจากจังหวัดยะลาและผู้ชนะเลิศฝ่ายหญิง�คือ�นางสาวฮาวา�หมัดหมุด�ผู้แทนจากจังหวัดเพชรบุรี�รองชนะเลิศอันดับ�1�นางซามีฮะ�ตะโล๊ะดิง�ผู้แทนจากจังหวัดปัตตานี�รองชนะเลิศอันดับ�2�นางมัยดีนา�สว่างลิขิต�ผู้แทนจากจังหวัดยะลา
����������มัสยิดกลางปัตตานีส่วนใหญ่จะใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ�(ละหมาด)�วันละ�5�เวลา�เป็นกิจวัตรประจำวัน�ใช้ในการละหมาดวันศุกร์�และการละหมาดในวันตรุษต่าง�ๆ�โดยมีชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ปัตตานี�และพื้นที่อื่นทั้งในและต่างประเทศ�โดยเฉพาะในวันศุกร์และวันเสาร์�จะมีการบรรยายธรรมะมีผู้เข้าฟังการบรรยาย�ประมาณครั้งละ�3,000�คน�เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในหลักการของศาสนา�และเพื่อความถูกต้องในการบำเพ็ญศาสนกิจ