จากการบอกเล่าของนายเสถียร อ่าวลึกน้อย และ นายอีน มาตรบุตร ประมาณพ.ศ. 2488-2502 สัปปุรุษจะต้องเดินทางไกล เป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร เพื่อไปละหมาดที่มัสยิดบ้านหนองหลุมพอ และมัสยิดบ้านนบใหม่ สัปปุรุษหลายๆคนจึงมีความคิดว่า บ้านศาลาพระม่วงควรมีมัสยิดสักหลังหนึ่ง โดยนายโกบ ห้วยแห้งและนายโส๊ะ บุตรเหล่ให้ที่ดินส่วนหนึ่งวากัฟสร้างมัสยิด สัปปุรุษจึงช่วยกันรวบรวมทุนทรัพย์และแรงกายสร้างเป็นมูซอลลา (บาลาย) ขึ้น โดยใช้ตำแหน่งบริเวณของพื้นที่มัสยิดปัจจุบันเป็นมูซอลลา ต่อมามีสัปปุรุษเพิ่มขึ้นจนสามารถทำละหมาดวันศุกร์ได้ครั้งแรก โดยมีนายโส๊ะ บุตรเหล่เป็นอีหม่ามเป็นทางการคนแรก
ต่อมานายโส๊ะ บุตรเหล่ ลาออกจึงมี นาย อี สกุลหลัง ทำหน้าที่เป็นอีหม่ามคนที่สอง อิหม่ามและสัปปุรุษเห็นว่าโครงสร้างมูซอลลาไม่ค่อยแข็งแรง เพราะวัสดุที่ใช้ทำด้วยไม้กลม หลังคามุงจาก จึงมีการซ่อมแซมและเปลี่ยนหลังคาอยู่หลายคลาว ราวปีพ.ศ.2502-2505
ในปี 2506 นายแอ อุมาสะรับตำแหน่งเป็นอิหม่ามคนที่สาม มีการปรับปรุงและบูรณะมัสยิดเป็นครั้งใหญ่ ได้เปลี่ยนโครงสร้างมัสยิด โดยใช้ไม้โรงเลื่อยสลับกับเหล็ก และเทพื้นด้วยปูนซีเมนต์ ก่ออิฐสูงประมาณ 150 เมตร มุงหลังคาด้วยสังกะสี ตัวอาคารที่ก่อสร้างใหม่ย้ายจากมูซอลลาหลังเก่าไปทางทิศใต้ประมาณ 10 เมตร สร้างรั้วและขึงลวดกำหนดบริเวณมัสยิดและเขตกุโบร์ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของสัปปุรุษบ้านศาลาพระม่วทุกคน
ปีพ.ศ.2519-2522 นายอุ้น บ้านนบ เข้ารับตำแหน่งคนที่สี่ เมื่อนายแอ อุมาสะ ลาออก การพัฒนา ทะนุบำรุง ซ่อมแซม รักษา มัสยิดดำเนินอย่างต่อเนื่อง มีแทงก์เก็บน้ำไว้ใช้ และเปลี่ยนโครงสร้างหลังคาเป็นกระเบื้อง
ปีพ.ศ.2522-2525 นายอ้าหมาด โบบทอง รับตำแหน่งต่อจากนายอุ้น บ้านนบ เพราะความชรา อิหม่ามอ้าหมาด โบบทอง ได้มีการให้สร้างโรงครัว โดยเอาสังกะสีจากมัสยิดหลังเก่ามามุงเป็นโรงครัว
ต่อมาในปี 2525 ได้ลาออกไปใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัด นายอีหม่ามเสถียร อ่าวลึกน้อย จึงได้แต่งตั้งเป็นอีหม่ามแทน อีหม่ามเสถียร อ่าวลึกน้อย ได้ต่อเติมมัสยิดและจัดให้มีการเรียนการสอน ติดต่อผสานงานติดต่อการทำหน้าที่กับหน่วยงานของรัฐและเอกชน และอีหม่ามได้จดทะเบียนมัสยิดที่ศาลากลางจังหวัดกระบี่ เลขที่ 78 ชื่อมัสยิด นูรอตนอิสลาม บ้านศาลาพระม่วง
เมื่อเวลาผ่านมา ได้ขอจดทะเบียน โดยนายเสถียร อ่าวลึกน้อย ทำหน้าที่เป็นอีหม่าม นายอ้าหมาด โบบทอง เป็นคอเต็บ และนายโส๊ะ ถวายเชื้อ ทำหน้าที่เป็นบิหล่าน วันเดือนปีที่จดทะเบียน 15 มิถุนายน 2505
ปีพ.ศ.2525-2527 อีหม่ามเสถียร ถวายเชื้อลาออก นายอ้าหลี ระวังงาน ได้รับการเลือกตั้งเป็นอีหม่าม อีหม่ามอ้าหลี ระวังงานได้สร้างอาคารเรียนสมาคมคุรุสัมพันธ์ขึ้นเป็นครั้งแรกของมัสยิดนูรอตนอิสลาม เพื่อสอนเด็กและ เยาวชน โดยใช้หลักสูตรคุรุสัมพันธ์ในการจัดการเรียนการสอน
ปีพ.ศ.2527-2537 เมื่ออีหม่ามอ้าหลี ระวังงาน มีเหตุจำเป็นต้องลาออก สัปปุรุษก็ได้เลือกนายโสด บุตรเหล่ เข้ารับตำแหน่งพร้อมอีหม่าม พร้อมคณะคือ นายอิบรอเฮม ถวายเชื้อ เป็นคอเต็บ นายสัน กะษิรักษ์เป็นบิหลั่น ในช่วงนี้มีการเติบโตของสังคมบ้านศาลาพระม่วงอย่างรวดเร็ว มีจำนวนสัปปุรุษเพิ่มขึ้น มัสยิดเริ่มคับแคบและชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา จึงมีมติว่า ให้มีการต่อเติมมัสยิดให้กว้างขึ้น แต่ก็มีปัญหาเรื่องสถานที่ก่อสร้าง จึงได้ปรึกษาหารือกันในขณะนั้น มีนายสมบูรณ์ สิทธิมนต์เป็นสส. นายพัฒนพล อ่าวลึกน้อยเป็นผู้ใหญ่บ้าน
ในปี พ.ศ.2530-2532 มีการตกลงกับสัปปุรุษในการซื้อที่ดินของนายมาเหยด เพชรหลาย และนายสมัน จนสามารถซื้อที่ดินได้สำเร็จ อิหม่ามและกรรมการได้ทำเปลนก่อสร้างตัวอาคาร และขุดบ่อน้ำ และเริ่มดำเนินการก่อสร้างวางผังฐานล่างของอาคารมัสยิด สร้างรั้วและหอประชาสัมพันธ์
ในปี พ.ศ.2537-2552 อิหม่ามโสด บุตรเหล่ ได้ลาออกจากการย้ายไปอยู่ที่อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ อิหม่ามอ้าหลี ระวังงาน จึงรับตำแหน่งใหม่อีกครั้ง ดำเนินการก่อสร้างอาคารมัสยิด ก่อเสา คานบน ปูแผ่นเรียบ และเทพื้นหลังคา จนสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้ จึงย้ายจากมัสยิดหลังเก่ามาปฏิบัติศาสนกิจที่มัสยิดหลังใหม่ และอนุญาตให้องค์การบริการส่วนตำบลคลองหินใช้พื้นที่ก่อสร้างส้วมสาธารณะ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสัปปุรุษและบุคคลทั่วไปมาใช้บริการ
ในปี พ.ศ.2552 อิหม่ามอาหลี ลาออก นายเสถียร อ่าวลึกน้อย เข้ารับตำแหน่งอิหม่ามอีกครั้ง ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อ ในการก่ออิฐ ฉาบปูนผนังมัสยิด แต่ดำรงตำแหน่งไม่นานก็ลาออก
ในปี พ.ศ.2552 -2558 นายอิบรอเหม ถวายเชื้อได้รับตำแหน่งเป็นอิหม่ามต่อ ดำเนินการก่อสร้าง ตกแต่ง เทปุนภายใน ปูกระเบื้อง ทาสีอาคาร มัสยิดมีความสวยงามเกือบจะสมบูรณ์ และได้รับการสนับสนุนให้มีการสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้น สร้างโรงครัว ที่จอดรถ ปรับพื้นผิวของอาคารมัสยิดเพื่อให้ดูมีความเป็นระเบียบและสวยงาม
ในปี พ.ศ.2558 ปัจจุบัน นายสุวิทย์ อุมาสะดำรงตำแหน่งเป็นอีหม่ามคนปัจจุบัน มีวิสัยทัศน์กว้างไกลสานต่อการยกระดับการใช้ชีวิตของสัปปุรุษตามแนวทางแห่งอิสลามจากอิหม่ามท่านก่อนๆ ส่งเสริมด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และให้สัปปุรุษได้ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมร่วมกับมัสยิด การก่อสร้างมัสยิดและทาสีมัสยิดและรั้วมัสยิดเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์